การพัฒนาการเข้าถึงบริการสุขภาพของนักศึกษา ในศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชภัฏศรีสวัสดิ์ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม The Developing Health Care Service Accessibility Process of Students in Rajabhat-Srisawat Urban Health Center, Muang Maha Sarakham District, Muan

Main Article Content

ทรรศตวรรณ เดชมาลา1 Thattawan Dechmala1
สงครามชัย ลีทองดี2 Songkramchai Leethongdee2
สุนทร ยนต์ตระกูล3 Soonthorn Yontragul3

บทคัดย่อ

การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพเป็นสิทธิที่คนไทยทุกคนพึงได้รับ และโดยเฉพาะในกลุ่มนิสิตนักศึกษาในสถาบันการศึกษาที่มีการ
ย้ายภูมิลำเนา มีความจำเป็นต้องจัดระบบการเข้าถึงบริการสุขภาพให้เพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการสุขภาพของนักศึกษา ใน
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชภัฏศรีสวัสดิ์ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏชั้นปีที่ 1 คณะกรรมการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชภัฏศรีสวัสดิ์ และเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชภัฏ
ศรีสวัสดิ์ รวม 333 คน ดำเนินการระหว่าง เดือนสิงหาคม 2556 ถึง เดือนพฤษภาคม 2557เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม
แบบบันทึก การสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการสังเกตวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูล เชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลกการวิจัยพบว่า
ขั้นตอนการพัฒนาระบบครั้งนี้ ประกอบด้วย 11 ขั้นตอนดังนี้ 1) ประชุมชี้แจงเพื่อเตรียมทีม 2) วิเคราะห์ข้อมูล 3) ประชุมจัด
ทำแผนยุทธศาสตร์ 4) ประชุมคณะกรรมการ 5) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 6) พัฒนาศักยภาพบุคลากร 7) พัฒนาระบบบริการ
8) การสร้างภาคีเครือข่ายและความสัมพันธ์ที่ดี 9) การสังเกตการให้บริการ 10) นิเทศติดตาม 11) การคืนข้อมูลและสรุปผลการดำเนิน
งาน จากผลของการพัฒนาพบว่า 1) จำนวนนักศึกษาที่ขึ้นทะเบียนสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 76
2) สัดส่วนการให้บริการผู้ป่วยนอกของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองราชภัฎ ศรีสวัสดิ์และโรงพยาบาลมหาสารคาม ปี 2556-2557 เพิ่มขึ้น
จาก 1.11 เป็น 1.28 3) คะแนนเฉลี่ยการเข้าถึงบริการคือ 2.91 อยู่ในระดับมาก 4) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการ คือ
4.59 อยู่ในระดับมาก ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาการเข้าถึงบริการสุขภาพของนักศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยการสร้างภาคีเครือ
ข่าย การมียุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมการเข้าถึงบริการ และการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เกี่ยวข้อง การจัดระบบการเข้าถึงบริการสุขภาพในกลุ่ม
นิสิตนักศึกษา เป็นบทบาทที่สถาบันการศึกษาทุกแห่ง ต้องถือเป็นภารกิจสำคัญ โดยมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างระบบการขึ้นทะเบียน
ที่ชัดเจนครอบคลุมและการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เข้าถึงง่ายและสะดวกให้เกิดขึ้น

Accessibility to health care service it should be the fundamental right of all Thai people. Nevertheless,
the record showed only small number of the students has registered and accessed to health service. Hence,
the study on this development process had becomes necessary. The research aimed to study the developing
on the process of health care accessibility of students in the Rajabhat-Srisawat Health Service Centre, Amphur
Maung, Maha Sarakham. This action research employed the concept of Kemmis & McTaggart (1990). The
process divided into four steps; planning, operating, observing and evaluating. The sample subjects were
the 1st year students of the Rajabhat Mahasarakham University, the committees of the Rajabhat-Srisawat
Health Service Centre and the staffs of the same health service centre. There were systematic selected as
the 333 samples. The research conducted between August 2013 - May 2014. The data was collected by
means of questionnaires, group-discussion recording forms and observation forms. The statistics used were
frequency, percentage, mean and standard deviation. The qualitative data was used for content analysis.
The study showed that the process of health service centre development consisted of 11 steps; 1)
meeting with operating staff, 2) data analysis, 3) strategic planning, 4) meeting with the committees of the
health service centre, 5) MOU signing, 6) staffs development, 7) service system development, 8) building
public health networks and good relationship,9) observing the services, 10) monitoring,11) evaluation and
conclusion. The findings indicated that 1) the number of students registered for the NHSO’ program increased
greatly (from 35% to 76%), 2) the ratio of the out-patients of Rajabhat-Srisawat Health Service Centre and
Maha Sarakham Hospital increased from 1.11 to 1.28, 3) the overall accessibility of the students for the service
was at high level (mean as 2.91), 4) the overall customers satisfaction for the service quality was also high
(mean as 4.95). The important factors to this successful result were comprised as partnership network creation,
accessibility strategies formulated and make multi-relationship with people as we can called P-A-R model).
The development of health service available for students access is very important as the main mission
of the educational institution. This finding has showed that clearly registration policy and health care available
were essential strategy and the keys success of this study.

Article Details

บท
บทความวิจัย