ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด Opinion of People towards Performance of Singkok Sub-district Administrative Organization, Kaset Wisai District, Roi-et Province.

Main Article Content

นิภาพร แสนโพธิ์1 Nipaporn Sanpho1
ธีรภัทร์ ลอยวิรัตน์2 Thiraphat Loiwirat2

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำ เนินงานของ อบต.สิงห์โคก
อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานของ อบต.สิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย
จังหวัดร้อยเอ็ด จำ แนกตามหมู่บ้านที่อยู่อาศัย และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการดำ เนินงานของ
อบต.สิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนเป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทน
ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ อบต.สิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 324 ครัวเรือน โดยกำหนด
ขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณของ ทาโร่ ยามาแน่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า
5 ระดับ ซึ่งค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.23-0.67 ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.87 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติ
ที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ คือ F-test ผลจากการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานของ อบต. สิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 7 ด้านโดย
รวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการส่งเสริม
คุณภาพชีวิต รองลงมาเป็น ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านการบริหารจัดการและสนับสนุน
การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ ด้านการศาสนาศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการ
บริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานของ อบต. สิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัด
ร้อยเอ็ด จำแนกตามหมู่บ้านที่อาศัย พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการดำเนินงานของ อบต.สิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ข้อเสนอแนะ
ที่มีค่าความถี่มากไปหาน้อย สามลำดับแรก คือ คือ อยากให้ อบต. มีการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในชุมชน
รองลงมา คือ อบต. ควรมีการสนับสนุนการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และผู้พิการ แยกตามหมู่บ้านเพื่อความรวดเร็ว และ
อบต. ควรมีการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญภายในชุมชน

The objectives of this independent study aimed to 1) examine the level of opinion of people towards
performance of Singkok Sub-district Administrative Organization, 2) compare the of opinion of people towards
performance of Singkok Sub-district Administrative Organization which classified by people’s settlement, and
3) explore the suggestion towards opinion of people concerning to performance of Singkok Sub-district
Administrative Organization. Data and information are gathered from 324 hosts or house representatives at
the age of 18 which selected by Taro Yamane ‘s technique. The instrument for collecting data was the rating
scale questionnaire with 0.23 to 0.67 item discrimination values and 0.87 reliability coefficients. The Statistical
analyses were frequency, percentage, mean, standard deviation, and F-test (One-way ANOVA).
The results found are as follows.
1. The overall level of people’s opinion towards performance of Singkok Sub-district Administrative
Organization was rated at a high level Considering each aspect, all aspects were rated at a high level and
ranks orderly from high to low as follows; quality of life promotion aspect, community regularity aspect, local
government mission support aspect, religion, cultural and local wisdom aspect, infrastructure aspect, natural
resource and environment preservation aspect, and investment, commercial and tourism aspect.
2. The comparison level of people’s opinion towards performance of Singkok Sub-district
Administrative Organization, which classified by people’s settlement, was significantly difference at the
level of .05.
3. Some useful recommendations towards performance of Singkok Sub-district Administrative
Organization which ranks orderly from three highest frequencies are that, community cleanness and orderliness
should be preserved, social allowances should be separately paid for each village, and tourism places and
important landmarks should be improved.

Article Details

บท
บทความวิจัย