การวิเคราะห์และสร้างตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพสังคมและความสุขของประชาชนด้วยการใช้เหมืองข้อมูล

Main Article Content

ธนวรรณ วิสุทธิรัตน์
สุรสิทธิ์ วชิรขจร

บทคัดย่อ

คุณภาพสังคมของประชาชนที่มีคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญ เป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนมีความสุขมากขึ้นและอยู่ภายใต้ความสนใจของนักวิจัยมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การอธิบายและทำนายคุณภาพสังคมและความสุขในปัจจุบันมีข้อจำกัด งานวิจัยนี้จึงนำเสนอเทคนิคใหม่ๆ มาใช้โดยนำเอาเทคนิคเหมืองข้อมูลซึ่งเป็นเทคนิคที่ให้ข้อสรุปผลการวิจัยที่มีการค้นหารูปแบบ แนวทาง และความสัมพันธ์แท้จริงที่ซ่อนอยู่ในชุดข้อมูลนั้น นำมาสร้างแบบจำลองคุณภาพสังคมที่ดีเพื่อใช้ทำนายแนวโน้มความสุขของประชาชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 944 คน


ผลการวิจัย พบว่า การแยกตัวแปรแบบไม่แบ่งกลุ่ม เป็นตัวแบบที่สามารถทำนายได้ดีที่สุด และปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อความสุขของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ คุณภาพสังคม ทั้งมิติความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ ความครอบคลุมทางสังคม ความสมานฉันท์ทางสังคม และการเสริมพลังทางสังคม ผลการวิจัยครั้งนี้ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการสร้างนโยบายในการทำให้ประชาชนในจังหวัดจันทบุรีมีความสุขมากขึ้นด้วยคุณภาพสังคมที่มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์. (2553). นโยบายความสุข: จิต วัตถุ และความต้องการที่ไม่สิ้นสุด. กรุงเทพฯ : แปรน พริ้นติ้ง จำกัด.

รติพร ถึงฝั่ง และ รัชพันธุ์ เชยจิตร. (2558). ความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคมกับความสุขของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร.

วารสารพัฒนาสังคม, 17, 111-133.

ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน. ผลการจัดอันดับจังหวัดแห่งความสุขของประเทศไทย : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ. (14 พฤษภาคม 2559) สืบค้นจาก http://www.maehongson.go.th/usrupl/dailyevent/march2013/ leadm3d28_doc.pdf.

สุรสิทธิ์ วชิรขจร. (2553). คุณภาพสังคมเพื่อคุณภาพประเทศไทย. กรุงเทพฯ : จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์. (2553). การวัดความสุขเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 3. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ตารางสถิติผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด(2547-2558).

(14 กุมภาพันธ์2560) สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/main.php?filename=gross_regional.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจ ในประเทศ ปี 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดจันทบุรี. (2559). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดจันทบุรี ปี 2559. จันทบุรี : กลุ่มนโยบายและวิชาการ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดจันทบุรี.

Abbott, P. (2007). Cultural Trauma Social Quality in Post-Soviet Moldova and Belarus. East European Politics and Societies, 21, 219-258.

Chapman, P., Clinton, J., Kerber, R., Khabaza, T., Reinartz, T., Shearer, C., & Wirth, R. (2000). CRISP-DM 1.0 : Step-By-Step Data Mining Guide. SPSS Inc. Retrieved From http://ftp.software.ibm.com/software/analytics/spss/support/Modeler/ Documentation/14/UserManual/CRISP-DM.pdf.

Lin, K. (2016). Social Quality and Happiness – An Analysis of the Survey Data from Three Chinese Cities. Applied Research Quality Life, 11, 23-40.

Seligman, M. E. P. (2002). Authentic Happiness : Using the New Positive Psychology to Realize Your Potential for Fulfillment. New York : Free Press.

Yamane, T. (1973). Statistics ; An Introduction Analysis. New York : Harper and Row.

Yuan, H. and Golpelwar, M. (2013). Testing Subjective Well-Being from the Perspective of Social Quality: Quantile Regression Evidence from Shanghai, China. Social Indicators Research, 113, 257-276.