การศึกษาความสามารถด้านการประกอบอาหาร ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโรงเรียนปัญญาวุฒิกรโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทักษะความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ด้านการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ด้านการจัดเตรียมวัตถุดิบส่วนผสมและด้านการประกอบอาหาร ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์และเปรียบเทียบความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของ เดวีส์มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 29.89 หรือร้อยละ 46.70 อยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง หากพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์มีค่าเฉลี่ย 32.50 หรือร้อยละ 59.78 ด้านการจัดเตรียมวัตถุดิบส่วนผสมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 28.83 หรือร้อยละ 45.05 และในด้านการประกอบอาหารมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 28.33 หรือร้อยละ 44.27ความสามารถหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ พบว่านักเรียนมีความสามารถในด้านการประกอบอาหารในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 53.89 หรือร้อยละ 84.20 อยู่ในเกณฑ์ดี หากพิจารณารายด้าน พบว่า การประเมินความสามารถหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์การปฏิบัติทั้ง 3 ด้าน
วิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ด้วยการวิเคราะห์ Wilcoxon Signed Ranks Test พบว่า ความสามารถหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้านการประกอบอาหารของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนปัญญาวุฒิกร
โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ในภาพรวมแตกต่างจากก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p-value = .028) เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Article Details
ทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่มพฤกษ์เป็นทัศนะและข้อคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ทัศนะของมหาวิทยาลัยเกริกหรือกองบรรณาธิการ การนำบทความส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดไปพิมพ์เผยแพร่ต้องอ้างอิงที่มาให้ชัดเจน
References
กุลยา ก่อสุวรรณ. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คันธารัตน์ ธรรมธร. (2557). การเปรียบเทียบทักษะการตีกลองยาวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดปริวาสระหว่าง
การใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์กับการสอนปกติ. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, กรุงเทพฯ.
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, และ นนทชนนปภพ ปาลินทร. (2559). ผลการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะการจัดการของเด็กปฐมวัย. การนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21 วันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ กาฬสินธุ์, 987
ปนัศา ยั่วยวน. (2557). ผลการพัฒนาทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ดอกไม้แห้งโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของเดวีส์
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.
ผดุง อาระวิญญู. (2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพ : ม.ป.ท.
สมพร คำมูล. (2554). ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองด้านการแต่งกายของนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางสติปัญญา โดยใช้ชุดกิจกรรมการแต่งกาย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
อภิชาติ อนุกูลเวช. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฝึกปฏิบัติทางเทคนิคบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
สำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
อัญชลี สารรัตนะ คำแปลง แสงคำ และ สุจิตรา แสงคำ. (2560). การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางสติปัญญาและความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและครอบครัว. วิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 13(1), 41
Davies, I.K. (1971). The Management of Learning. Abstracts International, 64 (04), 1188-A.
Gagne, Robert M. & Briggs, Leslie J. (1979). Principles of instructional design.
U.S.A. New York : Holt, Rinehart and Winston.
Simpson, D. (1972). Teaching physical education : A system approach. Boston : Houghton Mufflin Co.