การวิเคราะห์ปัจจัยความพร้อมของเมืองรองต่อการตัดสินใจจัดงานไมซ์ของประเทศไทย : มุมมองผู้ประกอบธุรกิจภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความพร้อมของเมืองรองในการเป็นสถานที่ของการจัดงานไมซ์ของประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความพร้อมของเมืองรองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจจัดงานไมซ์ในเมืองรอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบธุรกิจไมซ์ จำนวน 119 คน ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผ่านการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์ถดถอยถดถอยพหุคูณเพื่อศึกษาต่อการตัดสินใจไปจัดงาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยความพร้อมของเมืองรองประกอบด้วย 9 ปัจจัย คือ ด้านศักยภาพและการสนับสนุนของเมือง ด้านอุปสงค์และอุปทาน ด้านสถานที่จัดงานและที่พัก ด้านกระบวนการส่งเสริมการจัดงาน ด้านการอำนวยความสะดวกจากภาครัฐ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการบริการและประโยชน์สู่ชุมชน ด้านโอกาสทางธุรกิจ และด้านสถานที่จัดงานมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจจัดงานไมซ์ในเมืองรองมากที่สุด มี 2 ปัจจัย คือ ด้านสถานที่จัดงานและที่พัก และด้านโครงสร้างพื้นฐาน
Article Details
ทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่มพฤกษ์เป็นทัศนะและข้อคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ทัศนะของมหาวิทยาลัยเกริกหรือกองบรรณาธิการ การนำบทความส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดไปพิมพ์เผยแพร่ต้องอ้างอิงที่มาให้ชัดเจน
References
กรมการท่องเที่ยว. (2561). ท่องเที่ยวเมืองรองลดหย่อนภาษีได้. (20 เมษายน 2563). สืบค้นจาก https://www.dot.go.th/content-sharing/content-sharing-detail/4.
กฤษณ์ คงเจริญ และ มนตรี โสคศิยานุรักษณ์. (2561). การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์และความเสี่ยงในการลงทุน โครงการไฟฟ้าพลังงานขนาดเล็ก โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ References Class Forecasting และ Carlo Simulation. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 7(2), 138-154.
ดุษฎี ช่วยสุข. (2558). การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดขอนแก่นเพื่อรองรับการเป็นไมซ์ซิตี้ของประเทศไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยว, 10(1), 15-29. นงค์นิตย์ จันทร์จรัส. (2556). การเงินธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิโรธ เดชกำแหง และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการคุณภาพ ในธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้าใน ประเทศ ไทย. วารสารเวอร์ริเดียน อีเจอร์นัล, 9(2), 69-81.
ประภัสสร์ เทพชาตรี. (2559). ประเมินผลกระทบต่อยอดอุตสาหกรรมไมซ์ไทยจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐ -กิจอาเซียน (AEC). (15 กุมภาพันธ์ 2563) สืบค้นจาก http://dspace.library.tu.ac.th:8080/handle/6626133120/328?locale-attribute=th.
ปาจรีย์ ชัยชุมพล. (2558). รูปแบบสถานที่จัดงานที่เหมาะสมกับการเป็นเมืองแห่งไมซ์ของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความเมืองอันดับสองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21(2), 159-173.
เสรี วงษ์มณฑา และ วิชยานันท์ พ่อค้า. (2560). แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศไทยให้เป็นเมืองเป้าหมายของไมซ์ (MICE). วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 39(1), 96-112.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาสังคมและการเศรษฐกิจแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580. (1 ธันวาคม 2562) สืบค้นจาก https://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOCT 2018.pdf.
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2557). คู่มือการประเมินและคัดเลือกเมือง เพื่อจัดประชุมองค์กร การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุมวิชาการ การแสดงสินค้า (MICE City). กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน).
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานประจำปีงบประมาณ 2561. (2 ธันวาคม 2561) สืบค้นจาก https://www.businesseventsthailand.com/files/annual-reports/TCEB-AR2018-JULY07.pdf.
Armstrong, G., Adam, S., Denize, S.M., Volkov, M. & Kotler, P. (2014). Principles of marketing. Malaysia : Pearson
Australia Group Pty Ltd. Bornhorst, T., Ritchie, J. B., & Sheehan, L. (2010). Determinants of tourism success for DMOs & Destinations : An empirical examination of stakeholders' perspectives. Tourism manage- ment, 31(5), 572-589.
Crouch, G. I., Del Chiappa, G., & Perdue, R. R. (2019). International convention tourism : a choice modelling experiment of host city competition. Tourism Management, 71, 530-542.
García, J. A., Gómez, M., & Molina, A. (2012). A destination-branding model : an empirical analysis based on stakeholders. Tourism management, 33(3), 646-661.
Jin, X., & Weber, K. (2016). Exhibition destination attractiveness–organizers’ and visitors’ perspectives. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 28(12), 2719-2819.
Jitpleecheep, P. (2019). Nielson Identifies Second-Tier City as New Growth Driver. (December 1, 2019). Retrieved from https://www.bangkokpost.com/business/1709171/nielsen-identifies-second-tier-cities-as-new-growth-driver. Kotler, P. (2003).
Marketing management. New Jersey : Prentice-Hall. Porter, M. E. & Porter, M. P. (1998). Location, Clusters, and the "New" Microeconomics of Competition. Business Economics, 33(1), 7-13.