กิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่านสำหรับนักท่องเที่ยว

Main Article Content

โสมฉาย บุญญานันต์
สุชาติ อิ่มสำราญ

บทคัดย่อ

จังหวัดน่านมีความโดดเด่นด้านศิลปะผ้าทอพื้นบ้านที่งดงามด้วยสีสันและลวดลายที่มีความหมายสัมพันธ์กับความเชื่อ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปะและกระบวนการที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่า การสร้างความรู้ที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่านสำหรับนักท่องเที่ยว ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะศึกษารูปแบบอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน ระยะพัฒนาและทดสอบกิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวไทย 3 กลุ่มช่วงวัย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินการเห็นคุณค่าแบบ Rating Scale 4 ระดับ แบบสะท้อนคิด และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นคือ “มายเตลู-มูเตลาย” เป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสามารถทำได้ด้วยตนเองทั้งก่อนและระหว่างการท่องเที่ยว ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 ปกลายมงคล คือ กิจกรรมการตกแต่งปกสมุดจดบันทึก กิจกรรมที่ 2 เครื่องลายนำโชค คือ การประดิษฐ์พวงกุญแจนำโชค กิจกรรมที่ 3 แต้มสีเสริมดวง คือ การระบายสีป้ายห้อยกระเป๋าเดินทาง 2) ผลการทดสอบชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น พบว่า ในด้านการเห็นคุณค่า กลุ่มวัยเรียน (7 – 14 ปี) มีการเห็นคุณค่าระดับสูง (gif.latex?\bar{x} =  2.90) กลุ่มเยาวชน (15 – 24 ปี) มีการเห็นคุณค่าระดับสูง ( gif.latex?\bar{x} = 3.03) กลุ่มวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ (25 ปีขึ้นไป) มีการเห็นคุณค่าระดับสูง ( gif.latex?\bar{x} = 3.24) ในด้านความรู้ที่ได้รับ พบว่า กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดมีระดับความรู้เกี่ยวกับผ้าทอจังหวัดน่านหลังทำกิจกรรมโดยเฉลี่ย 7.13 คะแนน จาก 10 คะแนน มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =  4.33)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง และ นิรัช สุดสังข์. (2562). ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้สูงอายุ. Rajabhat J. Sci. Humanit. Soc. Sci. , 20(2), 136 - 144.

ชุติมา เวทการ. (2551). การจัดการเรียนรู้สาระทัศนศิลป์บนพื้นฐานวัฒนธรรมชุมชน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐกาญจน์ จันทน์เนื้อไม้ และ อภิชาติ พลประเสริฐ (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(5), 322-343.

นฤทธิ์ วัฒนภู. (2555). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย. วาดศิลป์.

บุญยิ่ง คงอาชาภัทร. (2564). Marketing in the Uncertain World การตลาดของคนอยู่เป็น. 22 มกราคม 2564 สัมมนาการตลาดวิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

ประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน. (2563, 8 ตุลาคม). ข่าวสารจังหวัดน่าน. Facebook.

https://www.facebook.com/nanprovince.

ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2561). จิตวิทยาศิลปะ : สุนทรียศาสตร์เชิงประจักษ์. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัดชา (เสนาณรงค์) อุทิศวรรณกุล. (2561). แฟชั่นและผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ จากทุนวัฒนธรรมสิ่งทอจังหวัดน่าน. วิสคอมเซ็นเตอร์.

วิถี พานิชพันธ์. (2547). ผ้าและสิ่งถักทอไท. ซิลค์เวอร์ม.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2546). ศิลปะชาวบ้าน(3 ed.). อมรินทร์.

วุฒิ วัฒนสิน. (2541). ศิลปะระดับมัธยมศึกษา. ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. (2547). ผ้าทอพื้นเมืองภาคเหนือ. ดอกเบี้ย.

สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน. (2555). ผ้าพื้นเมือง งานหัตถศิลป์ถิ่นน่าน. กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2562). Creating Creative Tourism Toolkit (2ed.). บุ๊คพลัส พับลิชชิ่ง

อพท. สำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน. (2563, 28 มีนาคม). ข้อมูลพื้นที่พิเศษ. อพท.http://www.dasta.or.th/dastaarea6/th/

Chula Creative Tourism. (2563, 7 เมษายน). รายงานสรุปเชิงนโยบาย การศึกษาจัดทำแผนการศึกษาการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา : พื้นที่น่านและอันดามัน. Chula creative tourismias.

https://cucreativetourismias.wordpress.com.

innnews. (2564, 17 กุมภาพันธ์). มูเตลู มาจากไหน แปลว่าอะไร. Independent News Network. https://www.innnews.co.th/horoscope/news_40779/.

Meehan and Merrill L. (1981). Learning Activity Packages: A Guidebook of Definitions, Components, Organization, Criteria, and Aids for Their Development and Evaluation. Charleston, West Virginia, Appalachia Educational Lab.

OKMD. (2017, August 8 ). Education Platform.

https://www.okmd.or.th/upload/pdf/magazine/The_Knowledge_vol_6.pdf

Wunderman Thompson. (2023, January 28). The Future 100:2023. การตลาดวันละตอน. https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/wunderman-thompson-releases-the-future-100-2023-predicting-the-future-of-digital-trends/.