การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

สุชาดา เสนาน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต 2) ศึกษาระดับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต และ 3) ศึกษาผลกระทบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าหรือผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 420 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และการเลือกแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การขายโดยพนักงานขาย การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ และการตลาดทางตรง ตามลำดับ 2) กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลกระทบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ต ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ เรียงลำดับตามน้ำหนักของผลกระทบ ได้แก่ การส่งเสริมการขาย (Beta= .397) การโฆษณา (Beta=.243) การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ (Beta=.211) การตลาดทางตรง (Beta=.194) และการขายโดยพนักงานขาย (Beta=.062) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งตัวแปรอิสระทั้งหมดที่กล่าวมา สามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตาม ได้ร้อยละ 62.4

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และ ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2555). การบริหารการโฆษณา และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ. บริษัทธรรมสารจำกัด.

ชัยชนะ แซ่จัง. (2562). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าใน สังคมเครือข่ายออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้). Dspace. http://ir.mju.ac.th/dspace/bitstream/123456789/139/1/5906401003.pdf.

ณิชารีย์ โสภา. (2563). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์ Happy Sunday (การค้นคว้าอิสระปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ). Dspace. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/4923/5/nicharee_sopa.pdf.

ณัฐธิดา เสถียรพันธุ์. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อและใช้บริการโรงภาพยนตร์ลิโด้คอนเน็คท์ ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ). Dspace. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/4494/5/nattida_sath.pdf.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565, 12 ตุลาคม). 5 มุมมองความเป็นอยู่ของคนใน 3 ภาคของไทย. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/regional-

articles/reg-article-2023-08.html.

พรพิมล วัฒโน และ มนต์ ขอเจริญ. (2564). แนวทางการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและการพัฒนาแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของสถาบันการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หลังสถานการณ์โควิด-19. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต, 15(2), 12-32.

ภาฝัน จิตต์มิตรภาพ ฤๅเดช เกิดวิชัย พรกุล สุขสด และดวงกมล จันทรรัตน์มณี. (2565). ปัจจัยขับเคลื่อน ความสำเร็จในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจังหวัดภูเก็ต. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(1), 188-202.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. สำนักพิมพ์ บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็ก จำกัด.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2555). หลักการตลาด. ท็อป.

สมกมล มหาอินทร์. (2562). กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์ของประชาชนในเขต กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2562). การสื่อสารทางการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพงษ์ การาม. (2562). ช่องทางการสื่อสารทางการตลาดของแม็คยีนส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของวัยรุ่นใน เขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ). Dspace. http://dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/4518/3/surapong_kara.pdf.

สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (2565, 12 พฤศจิกายน). แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต(พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ.2564. จังหวัดภูเก็ต. https://ita.phuket.go.th/assets/upload/O4.pdf.

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต. (2565, 18 ตุลาคม). รายงานสถานการณ์ทาง สังคมจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2565 . https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/download/article/article_20220920161540.pdf.

Ad addict. (2565, 10 ธันวาคม). Digital Thailand 2020: สรุป 30 สถิติดิจิทัลของคนไทย ประจำปี 2020 ฉบับรวมครบจบในที่เดียว. https://adaddictth.com/knowledge/digital-thailand-2020.

Duhe, C. H. (2007). New media and public relations. Peter Lang.

Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2007). Marketing (14 ed.). McGraw-Hill.

Hair J. F., Black W. C., Babin B. J., Anderson R. E., & Tatham R. L. (2010). Multivariate data analysis (7 ed.). Pearson Prentice Hall.

Kotler, P., & Keller, K. (2003). Marketing management. Prentice-Hall.

Kotler, P., & Keller, P. (2009). Marketing management (13 ed.). Pearson Prentice Hall.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.

Schultz, D. E. (1993). Integrated marketing communications: Maybe definition is in the point of view. Marketing News, 27(2), 17.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3 ed.). Harper & Row.