ความเป็นท้องถิ่นกับวัฒนธรรมจีนที่เข้ามาในสังคมไทยกรณีศึกษา รูปแบบประเพณีและคติความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างไทยกับจีน

Main Article Content

กฤษฎา แก้วเกลี้ยง

Abstract

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) นับเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของโลกในแง่ของวัฒนธรรม เพราะภูมิภาคแห่งนี้ได้มีการแลก เปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับภูมิภาคอื่นมาเป็นเวลาช้านาน โดยวัฒนธรรมแต่ละชุดที่เข้ามาจากภายนอก ก็ล้วนแล้วแต่ส่งอิทธิพลต่อความเป็นไปของสังคม ตลอดจนวิถี ชีวิตของประชาชนในภูมิภาคดังกล่าวทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงไม่สามารถปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ วัฒนธรรมแต่ละชุดที่เข้ามาได้มีการทำให้ความเป็นท้องถิ่น (Local) ของแต่ละชุมชนเกิดความเปลี่ยนแปลง ซึ่งชุมชนท้องถิ่นเองก็จำเป็นจะต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่แปลกใหม่ เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการปะทะระหว่างวัฒนธรรมใหม่และวัฒนธรรมเก่า อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่าท้องถิ่นจะต้องมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งที่เข้ามาใหม่เพียงอย่างเดียว เพราะสิ่งที่เข้ามาใหม่ก็จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับความเป็นท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมด้วย เพื่อให้ตนเองสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ไม่ถูกทำลายหรือกดทับจากท้องถิ่นดั้งเดิม ดังนั้น เราจึงเห็นการผสมผสานระหว่างความเป็นท้องถิ่นดั้งเดิมกับสิ่งที่เข้ามาใหม่ได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้

ประเทศไทยเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการรับวัฒนธรรมจากต่างภูมิภาคเข้ามา ซึ่งในที่นี้ได้ศึกษาถึงวัฒนธรรมจีนที่เข้ามาผสมผสานกับความเป็นท้องถิ่นของไทย วัฒนธรรมจีนถือว่ามีปรากฏอยู่ทั่วไปในสังคมไทย ทำให้เกิดการผสมผสานกับความคิด ความเชื่อ รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น กลายเป็นรูปแบบ เฉพาะ (Specific Pattern) ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างความเป็นท้องถิ่น หรือเรียกในเชิงกระบวนการว่า Localization ซึ่งสิ่งนี้นับว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากแสดงให้เห็นถึงกระบวนการที่ท้องถิ่นและวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาผสมผสานกัน จนสามารถดำ รงอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่เกิดปัญหาความแตกแยกทางวัฒนธรรม เช่น รูปลักษณ์ขององค์เทพเจ้าท้องถิ่น หรือประเพณีต่างๆ ที่ยึดถือปฏิบัติกันทั้งในระดับชาวบ้านทั่วไปและระดับราชสำ นัก เป็นต้น ส่งผลให้ประชาชนในสังคมดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุขเสมอมา

 

Localization and Chinese Culture in Thailand A Case study of the Integrated Thai - Chinese Traditional Pattern and Myths

South East Asia is one of the important region of the world in terms of culture because the countries in this have exchanged their culture with other regions for a long time. In each culture that came from outside have an effect on local community such as lives of people. For this reason, one cannot ignore the changes that occur. Each culture to some degree made the changes in local community. The local communities also need to adapt themselves to new cultures in order to minimize problems that may arise from the clash between new culture and the old one. However, this does not mean that local communities need be adapted only because new culture has to be transformed also, in order to protect themselves, not be destroyed or suppressed. Then, one can observe a combination of culture in various communities in Southeast Asia.

Thailand is one of country that accept cultures from other region. This article was focused on Chinese culture that integrated into local culture of Thailand. Chinese culture appeared in Thai society and usually combined with local thought, local myth, or events that occur locally. This situation caused a specific pattern of culture which could be called the process of can process localization. It’s so interesting because it show the process of the integrating between the old culture and the new culture. For example, the image of local god and the traditions and customs practiced by in people level or royal court. This integration process could yield make everyone can live together peacefully. As a result, the residents in communities.

Article Details

Section
Article