ความรู้และทัศนคติที่มีต่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ของชาวนา หมู่บ้านคลอง 14 เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฐ์ธเนศ มหาศักย์ศิริ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปทางเศรษฐกิจและสังคมวิถีชีวิต และรูปแบบการผลิตทางเกษตรกรรม และความรู้ ทัศนคติต่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของชาวนา หมู่บ้านคลอง 14 เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง มีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลักมาไม่ตํ่ากว่า 15 ปี และมีประสบการณ์ในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มาแล้วไม่ตํ่ากว่า 1 ปี จำนวน 10 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ผ่านการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณา

ผลการวิจัยพบว่าชาวนาหมู่บ้านคลอง 14 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนตํ่ากว่า 10,000 บาท ชาวนามีที่ดินเป็นของตนเอง และเช่าที่ดินในส่วนของที่ราชพัสดุ ซึ่งมีค่าเช่าต่ำสภาพสังคมของหมู่บ้านส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เนื่องจากมีผู้ใหญ่บ้านที่คอยประสานให้มีกิจกรรมร่วมกันของสมาชิก และการทำนาก็มีการถือแรงกันเพื่อประหยัดต้นทุนไม่ต้องจ้างคนนอกมาทำงานมากนัก รูปแบบการผลิตเป็นทำการเกษตรแบบอินทรีย์ อย่างไรก็ตามมีการนำนวัตกรรมทางการเกษตรมาใช้ เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าวจากกรมการเกษตรที่มีการพัฒนาให้มีผลผลิตที่มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญรวมทั้งการใช้เครื่องทุ่นแรงต่างๆ ดังนั้น การทำนาของชาวนาหมู่บ้านคลอง 14 จึงเป็นการทำนาที่ประยุกต์ผสมผสานระหว่างการใช้สารเคมี และการเกษตรอินทรีย์เพื่อลดต้นทุน และรักษาสภาพดินของที่นา สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่ชาวนาใช้คือ ปุ๋ยพืชสดที่มีการหมักตอซังข้าวหลังการเก็บเกี่ยว ปุ๋ยนํ้าชีวภาพใช้ผสมนํ้าหมักระหว่างการ เตรียมดิน และผสมกับปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ปุ๋ยอินทรีย์เคมีอัดเม็ด เพราะสะดวกต่อการใช้กับเครื่องหว่านปุ๋ย ซึ่งมีแรงจูงใจจากการเชื่อว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเป็นวิธีที่ทำให้เพิ่มผลผลิตได้ดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว จึงเห็นได้ว่าชาวนา มีความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีต่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในระดับหนึ่ง ซึ่งชาวนาส่วนใหญ่มีความคาดหวังต้องการให้รัฐบาลเข้ามาสนับสนุน ให้ความรู้และพัฒนาให้ปุ๋ยอินทรีย์สามารถมีคุณสมบัติในเรื่องการบำรุงให้ข้าวสามารถให้ผลผลิตได้รวดเร็วเหมือนปุ๋ยเคมี ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐจะต้องเปลี่ยนวิกฤติปุ๋ยเคมีราคาแพงในปัจจุบันให้เป็นโอกาสโดยการเร่งดำเนินการขับเคลื่อนผลักดันให้ชาวนาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อีกทั้งให้ความรู้ ความเข้าใจในการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อป้องกันปุ๋ยที่ไม่มีคุณภาพและสร้างความมั่นใจในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้ชาวนา

 

Knowledge and Attitude towards the Utillzation of Organic Fertilizer of Farmers in Klong 14 Village, Nongjork District, Bangkok

The purpose of this study was to investigate general characteristic of society and economy, life style and the pattern of production, especially knowledge and attitude towards the utilization of fertilizer of farmers in Klong 14 Village, Nongjork District, Bangkok.

The results of the study were as follows : The average monthly income of farmers in Klong 14 Village, Nongjork District, Bangkok, was lower than 10,000 baht. Some farmers had their own lands and some of them rented the lands from the Royal Properties which offered low renting fees. As for the social aspect, most villagers had close relationship with each other because the headman of the village always organized social activities in which villagers actively participated. However, the majority of the respondents farmers helped one and others in doing their jobs. Because of this, they could decrease their expenses since they did not have to hire so many laborers to work on their farms. In the aspect of the cultivation, the majority of the farmers in Klong 14 Village utilized the process of organic farming. However, they also utilized agricultural innovation such as the rice grain of the Department of Agriculture which had been so genetic developed that could significantly increase the farmers productivity. Apart from that, they also used modern agricultural equipments. Farmers in Klong 14 Village also applied mixed methodology between using chemical substances and organic agriculture for the purpose of decreasing cost and soil preservation. In the aspect of fertilizer, farmers in Klong 14 Village used organic fertilizer i.e. the fertilizer which occurred from the fermentation of rice stubbles after the harvest season. Meanwhile, they used biological liquid fertilizer mixed with fermented water during soil preparing. Moreover, villagers mixed the fertilizer with the compact organic fertilizer and compact chemical organic fertilizer, since the fertilizers were convenient for using with the fertilizer sowing machine. The farmers motivation in doing this came from their believed that using mixed fertilizer between the organic fertilizer and the chemical fertilizer would increase more productivity than solely using chemical fertilizer. For this reason, the researcher concluded that the farmers had got knowledge and understanding including good attitude towards using organic fertilizer at a certain level. Consequently, most of farmers expected that the government would support them in the aspect of knowledge and developed organic fertilizer until they could produce the organic fertilizer that had the same characteristic with chemical fertilizer to increase rice productivity. Therefore, government agencies should turn the critical point of the current expensive price of chemical fertilizers into opportunity for farmers by urging them to use more organic fertilizer including educating them about how to test organic fertilizer quality for the purpose of the prevention of disqualified organic fertilizer and increasing more confidence among farmers in using organic fertilizer.

Article Details

Section
Article