รูปแบบองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรม เครื่องสำอางไทยภายใต้บริบทการจัดทำโครงการระบบมาตรฐาน ASEAN cosmetic GMP

Main Article Content

เกษม กสิโอฬาร
พัชรี ตันติวิภาวิน

Abstract

วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารองค์การธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย และเพื่อสร้างรูปแบบองค์การภายใต้บริบทการจัดทำโครงการระบบมาตรฐาน ASEAN Cosmetic GMP ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยได้ยกระดับรูปแบบการบริหารองค์กรเพื่อเข้าสู่งานพัฒนาองค์กรให้ได้มาตรฐานสากล กล่าวคือ ผู้นำระดับผู้บริหารได้เห็นถึงความสำคัญในการนำหลักปรัชญาวิสัยทัศน์ เชิงยุทธ์ของ Kotter (2012) และ Quigley (1993) เกี่ยวกับการกำหนดค่านิยมร่วม ภารกิจ และเป้าหมาย รวมทั้งองค์กรยังรู้จักที่จะนำทฤษฎีการเตรียมความพร้อมของ Hersey & Blanchard (1993) มาประยุกต์ผสมผสานร่วมกับงานจัดทำโครงการในระบบมาตรฐาน ASEAN Cosmetic GMP ทั้งนี้ รูปแบบองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องสำอางของไทยภายใต้บริบทการจัดทำโครงการระบบมาตรฐาน ASEAN Cosmetic GMP ที่ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนได้นั้น ผู้นำระดับผู้บริหารควรตระหนักถึงความสำคัญ ประโยชน์ และความจำเป็นในการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนามาตรฐานคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐาน ดังนี้คือ 1) ด้านการมีคู่มือคุณภาพ 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านสถานที่ผลิต 4) ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ 5) ด้านสุขลักษณะและสุขอนามัย 6) ด้านการดำเนินการผลิต 7) ด้านการควบคุมคุณภาพ 8) ด้านเอกสาร 9) ด้านการตรวจสอบภายใน 10) ด้านการจัดเก็บ 11) ด้านผู้ผลิต 12) ด้านการเรียกร้อง 13) ด้านการเรียกคืนเครื่องสำอาง

 

Thai cosmetic Industrial Organization Modelunder the Context of ASEAN Cosmetic GMP Standard Program

This research aimed at studying the organizing style of Thai cosmetic industrial business organization and creating an organization model under the context of establishing ASEAN Cosmetic GMP through the qualitative research. It was found out that Thai cosmetic industry was more improved in organizing pattern in order to standardize the organization. It could be said that administrative leaders realized the importance of implementing the philosophy of statistic vision of Kotter (2012) and Quigley (1993) about setting shared values, mission, and goal. Moreover, organization also implemented readiness preparation philosophy of Hersey & Blanchard (1993) to integrate with project creating in ASEAN Cosmetic GMP standard.

The finding showed that in creating the sustainable success of Thai cosmetic industrial business organization model under the context of creating ASEAN Cosmetic GMP Standard, administrative leaders should realize the importance, benefit, and necessity of revising, adjusting, and continuously developing standard according to the criteria of standards : 1) quality manual 2) personnel 3) production place 4) equipment 5) sanitation and hygiene 6) production process 7) quality control 8) documentation 9) internal audits 10) storage 11) contract manufacturing and analysis 12) complaints and 13) product recalls.

Article Details

Section
Article