ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ที่ดินจากดัชนีพืชพรรณกับวิถีชีวิตครัวเรือนในบ้านควนทราย ตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่

Main Article Content

อุเทน ทองทิพย์
ปิยะ ดวงพัตรา
พันธ์ทิพย์ จงโกรย
เสาวนุช ถาวรพฤกษ์

Abstract

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ที่ดินที่จำแนกโดยวิธีดัชนีพืชพรรณกับวิถีชีวิต ครัวเรือนในบ้านควนทราย ตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สภาพวิถีชีวิตของครัวเรือนในชุมชนบ้านควนทรายทางด้านสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบของการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ส่วนที่ ศึกษาวิถีชีวิตชุมชนทางด้านสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินการ วิจัยอย่างมีส่วนร่วม และวิเคราะห์วิถีชีวิตของครัวเรือน จากการใช้ทรัพยากรในการดำรงชีวิต รวม 5 ประเภท คือ ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรทางสังคม ทรัพยากรทางกายภาพ ทรัพยากรการเงิน และทรัพยากรธรรมชาติ และส่วนที่สองคือการศึกษาผลของการใช้ ที่ดินต่อวิถีชีวิตชุมชน โดยใช้วิธีการสร้างกราฟใยแมงมุม (Radar Chart) วิเคราะห์ ข้อมูลและเพื่อแปลความหมายจากองค์ประกอบพื้นฐานในการดำรงชีวิตทั้ง 5 ด้าน ในรูปแบบแผนภูมิรูปแบบห้าด้าน (Pentagon) เพื่อกำหนดทางเลือกในการใช้ที่ดิน ผลการศึกษาพบว่าวิธีการจำแนกประเภทข้อมูลแบบควบคุมระยะห่างต่ำสุดจาก ค่าเฉลี่ย ของดัชนีพืชพรรณ NDVI แสดงให้เห็นว่า ขนาดของพื้นที่ยืนต้นของยางพารา ในพื้นที่ศึกษามีเนื้อที่ 2,741.81 ไร่ ปาล์มน้ำมัน 1,130.78 ไร่ กาแฟ 8.98 ไร่ ไม้ยืนต้น สวนผสม 187.09 ไร่ ป่าไม้ 173.14 ไร่ แหล่งน้ำำ 29.47 ไร่ และพื้นที่ว่าง 363.46 ไร่ วิถีชีวิตของครัวเรือนที่ใช้ที่ดินปลูกยางพาราอย่างเดียว ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างเดียว และ ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน มีระดับความสัมพันธ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติสูงสุด รองลงมาอันดับที่สอง คือ ระดับความสัมพันธ์ด้านทรัพยากรทางสังคม วัฒนธรรม และการเมือง อันดับที่สาม คือ ระดับความสัมพันธ์ด้านทรัพยากรทางกายภาพ อันดับที่สี่ คือ ระดับความสัมพันธ์ด้านทรัพยากรการเงิน และด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีระดับ ความสัมพันธ์ต่ำสุด สำหรับพื้นที่ศึกษา ผลการวิจัยสนับสนุนแนวทางการเลือกใช้ที่ดิน ของแต่ละครัวเรือนเพื่อปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันโดยมียุทธศาสตร์การพัฒนา เป็นแหล่งเกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน บนพื้นฐานของคุณภาพชีวิตของประชาชน

 

The Relationship Between Land Use as Categorized by Vegetation Index Method with Household Livelihood in Khuan Sai Village Lam Thap Subdistrict Lam Thap District Krabi Province

The application of vegetation index for exploring land use and household livelihood in Khuan Sai village, Lam Thap subdistrict, Lam Thap district, Krabi province was aimed to investigate the household livelihood in term of economics, social and environment all aspects, and also to analyze the relationship between land use types as categorized by vegetation index and communal livelihood in Khuan Sai village.

Research methodologies were composed of two parts. Part one was the participatory study on the communal livelihood in term of economics, social and environmental situations. The household livelihood was analyzed based on the usage of five assets namely human assets, social cultural and political assets, physical assets, financial assets, and natural assets. Part two was carried out by analyzing the effect of land use on communal livelihood by using radar chart method. The acquired data were then analyzed and interpreted based on the five assets, presenting the results in the form of pentagon graph, and thus advocating the trend of land use options.

The results obtained from the supervised minimum distance of vegetation index NDVI showed that there were 2,741 rai of rubber planting area, 1,130.78 rai of oil palm planting area, 8.98 rai of coffee planting area, 187.09 rai of mixed crops planting area, 173.14 rai of forest area, 29.47 rai of surface water area, and 363.46 rai of abandoned area. The relationship between the household livelihood of rubber, oil palm and rubber-oil palm growers with the natural asset were the highest, followed respectively by the social cultural and political asset, physical asset, financial asset and human asset. For this study, the results attained help advocated the trend of land use options for rubber and oil palm cropping by aiming on the strategy towards the sustainable agro-industry development and life quality of the people living in the area.

Article Details

Section
Article