ความตระหนักในการอุดมศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนบวกสาม

Main Article Content

นิดาพรรณ สุรีรัตนันท์
ภัสมะ เจริญพงษ์

Abstract

การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี พุทธศักราช 2558 ถือเป็นโอกาสส่งเสริมความเติบโตของกลุ่มประเทศอาเซียนบนฐานความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ทั่วทั้งภูมิภาค สนับสนุนการเปิดเสรีในด้านการไหลเวียนสินค้า บริการต่างๆ การลงทุนของผู้ประกอบการชาวต่างชาติโดยตรง แรงงานฝีมือ และการลงทุนข้ามชาติ การรวมตัวกันอย่างแนบแน่นเป็นประชาคม การส่งเสริมซึ่งกันและกันโดยมุ่งหมายให้เกิดความยั่งยืนของภูมิภาคโดยรวมทั้งสันติภาพ เสถียรภาพ และการแบ่งปันความสำเร็จงอกงาม เสริมสร้างความเข้มแข็ง การเคารพยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย ความเสมอภาคความเข้าใจซึ่งกันและกัน และการปรับตัวที่จะอยู่ร่วมกันของบุคคลในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมอย่างเคารพในความแตกต่างทางเพศ ชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา หรือภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้หยั่งรากและแผ่ขยายผ่านการรวมตัวระหว่าง AEC กับอีก 3 ประเทศ (AEC Plus Three: APT) ทางตอน เหนือ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้โครงสร้างพื้นฐานและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT หรือ ไอที) นับว่าเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกให้แผ่ขยายอย่างไร้พรมแดน ความก้าวหน้าทางไอทีได้ ก่อให้เกิดปัญหาเชิงจริยธรรมในรูปแบบใหม่ๆ ตามมา ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคมและบริบทแวดล้อมจึงจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาไปพร้อมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความร่วมมือของประชาคม การอุดมศึกษา (Higher Education: HE) ซึ่งมีภารกิจ หลักในการจัดการเรียนรู้จึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในฐานะที่เป็นระดับการศึกษาที่ผลิตบุคลากรสาขาต่างๆ ออกสู่ตลาดแรงงานทั้งนี้องค์กรต่างๆ ในสังคมไม่เพียงต้องการบุคลากรที่มีความรู้และทักษะที่ดีในงาน หากแต่ต้องการบุคลากรที่ตระหนักถึงจริยธรรมด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่านำไปสู่ความเข้มแข็งของสังคมบทความนี้มุ่งหมายที่จะนำเสนอประเด็นปัญหาทางจริยธรรมรูปแบบใหม่ในยุคดิจิทัล และผลกระทบที่มีต่อประเทศสมาชิกของ APT โดยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงความตระหนักของประเทศสมาชิกในเชิงจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Ethics) ท่ามกลางสภาพการณ์ในช่วงปีปัจจุบัน อภิปรายกรณีการสอนจริยธรรมสำหรับนักศึกษาไอทีในมหาวิทยาลัยไทยรวมถึงสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น สรุปแล้วจริยธรรมในการศึกษาด้านไอทียังคงเป็นประเด็นที่ต้องสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมเพื่อความเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกับนานาประเทศในกลุ่ม APT

 

Awareness of IT Education and Ethical Concern in Higher Education for Sustainable Growth with AEC Plus Three

The establishment of an ASEAN Economic Community (AEC) by 2015 offers great opportunities to support growth of ASEAN countries based on the region’s full economic integration. A free flow of goods, services, foreign direct investment, skilled labor, and freer flow of cross-border capital will be promoted. The community is closely intertwined and mutually reinforcing for the purpose of ensuring durable peace, stability, and shared prosperity in the region. It promotes tolerance, respect for diversity, equality, mutual understanding, and people-oriented in which all sectors of society, regardless of gender, race, religion, language, or social and cultural background, are encouraged to participate in, and benefit from the process of ASEAN integration and community building. The economic cooperation is deepening and widening through greater integration with China, Japan, and South Korea - the three partners from the north. The increasing globalization of the world economies is being fueled by a number of Information Technology (IT) infrastructures and applications. There are new forms of ethical problem arising out of this advancement in IT. For achievement of the cooperation’s goals, economic, social and environmental factors must be jointly considered. Higher Education (HE) takes an important role in human resource development through their core activities of learning management because students at this level will be prepared to enter the labor market. Organizations require graduates not only with good knowledge and professional skill, but also ethical awareness for serving as valuable human resources to strengthen community. This article aims to focus on emerging ethical problem issues in the digital age and their impacts to APT member countries. Related literatures are reviewed to show APT’s awareness of computer ethics among situations in recent years. Practical cases of teaching ethics for IT students in Thai universities, including Thai-Nichi Institute of Technology, are discussed. It is recommended that ethical concern in IT education still needs more perception and promotion for sustainable growth with APT.

Article Details

Section
Article