วิพากษ์ระบบการศึกษาดนตรีผ่านมุมมองหลังอาณานิคม; A Postcolonial view on Critical Music Education

Main Article Content

กุลธีร์ บรรจุแก้ว

Abstract

บทความนี้ได้ทำการวิพากษ์ระบบการศึกษาดนตรีผ่านมุมมองหลังอาณานิคม จากข้อสงสัยที่ว่าเหตุใดรัฐบาลจึงเลือกให้ความสำคัญต่อองค์ความรู้เพียงบางชุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ทางดนตรีตะวันตก ได้ถูกยกให้อยู่เหนือกว่าความรู้ดนตรีที่มีอยู่ดั่งเดิมในท้องถิ่น อีกทั้งความรู้ดังกล่าวยังสามารถเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ ต่อการสร้างอุดมการณ์รัฐชาติให้ปรากฏขึ้นมาอย่างเด่นชัด ในบทความนี้ จึงคัดเลือกตัวบทสำคัญสองส่วนที่เกี่ยวกับการสร้างนโยบายทางการศึกษาดนตรีของผู้มีอำนาจรัฐคือ 1) นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาดนตรีของรัฐบาลประเทศจีน และ 2) นโยบายการปรับปรุงศิลปวัฒนธรรมของรัฐบาลไทยในสมัยจอม ป. พิบูลสงคราม โดยนำมาวิเคราะห์ด้วยมุมมองหลังอาณานิคม (postcolonial) ประเด็นหลักของบทความประกอบด้วย การสร้างองค์ความรู้ทางด้านดนตรีให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความหมายรัฐชาติของทั้งประเทศจีนและไทย และส่วนสุดท้ายเป็นการวิพากษ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสถาปนาองค์ความรู้ทางด้านดนตรีเพียงบางชุด ให้มีความสำคัญต่อการศึกษาดนตรีภาคบังคับ และการผลักองค์ความรู้ดนตรีบางชุดให้กลายเป็นอื่น

This article criticized music education system arising from the establishment of the government on why the State chose to focus on a certain set of knowledge as an important tool for strengthening the nation-state ideology. The establishment of the structured set of knowledge on the cultural education of people in the nation reduced other musical cognition. If the knowledge had not been supported by the government, it would not have been more valuable than in the mainstream. The texts about music education from the government of China and the improving Thai cultural policy of Field Marshal Plaek Phibunsongkhram, the prime minister and head of the government at that time were analyzed according to the postcolonial perspective. The first part of the article’s main points was how to construct the music knowledge as one of many important tools to create the nation-state of China and Thailand. The conclusion was to criticize the reason to establish the music knowledge into the compulsory music education and left other sets of music knowledge behind.

Article Details

Section
บทความวิชาการ