จากการปรับทัศนคติสู่วิกฤตการณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน; From Attitude Adjustment to Political Participation Crisis

Main Article Content

อรุณ ขยันหา

Abstract

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิกฤติการณ์ทางการเมือง โดยศึกษาประเด็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามหลักการของประชาธิปไตยในช่วงรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ มาพัฒนาเป็นแนวทางในการแก้ไขวิกฤติการณ์ และสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน บทความมีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกคือการเกริ่นนำ ส่วนที่สองคือแนวความคิดว่าด้วยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ส่วนที่สามว่าด้วยอุปสรรคของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ส่วนที่สี่ว่าด้วยวิกฤติการณ์ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามหลักประชาธิปไตยสากลในยุคปรับทัศนคติ และส่วนทุดท้ายว่าด้วยแนวทางในการแก้ไขปัญหา

ผลการศึกษาพบว่า วิกฤติในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในยุคปัจจุบันนี้ มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย อาทิ เกิดจากการปรับทัศนคติซึ่งเป็นการแช่แข็งการเคลื่อนไหวทางการเมืองของภาคประชาสังคม ไม่ยึดหลักมิติมหาชน ไม่จัดประชาพิจารณ์ ไม่เร่งดำเนินการการออกเสียงประชามติ รวมไปถึงการเร่งจัดการเลือกตั้ง สิ่งเหล่านี้เป็นตัวเร่งที่สำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤติการณ์ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

แนวทางในการสร้างโอกาสเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ได้แก่ 1) การยุติการกระทำใด ๆ รวมถึงทั้งประกาศ คำสั่ง ระเบียบ ที่เป็นการคุกคาม ขัดขวางการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทุกรูปแบบ และควรพิจารณายกเลิกคำสั่งดังกล่าวโดยเร็ว 2) รัฐบาลต้องเร่งสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการปรองดองอย่างเร่งด่วน โดยการเปิดพื้นที่สิทธิ เสรีภาพให้แก่ผู้มีความเห็นต่าง 3) รัฐบาลต้องมีความชัดเจน มีการคุ้มครองเสรีภาพให้ประชาชน นักวิชาการ สื่อมวลชน และพรรคการเมือง ให้สามารถรณรงค์และแสดงความเห็นทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ เสรี และเป็นธรรม

The purpose of this article was to study political participation crisis in the government of National Council for Peace and Order period to propose the suggestion to the government. This article was divided into 5 parts namely: 1) introduction 2) political participation concepts 3) political participation obstruction concepts 4) political participation crisis in the government of National Council for Peace and Order period and 5) approach to the problem solving.

The results shown that there were many causes of political participation crisis for instance; freezing social movement by attitude adjustment; ignoring the principle of public opinion, no public hearing, no referendum, and no election. These were the catalyst of political participation crisis.

The approaches of creating opportunities to promote the political participation composed of 1) stop any action including declarations, command, and order as a threat to human right 2) the government must create harmonious situation urgently by opening the public space for different opinion and 3) the government must be clear and protect the liberty of the scholar, mass media, and political parties for freedom of expression thoroughly, freely, and equitably.

Article Details

Section
บทความวิชาการ