การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต;A Study of Achievement Motivation of Students in Faculty of Humanities and Social Sciences, Suan Dusit Rajabhat University
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพและส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งลงทะเบียนเรียนประจำปีการศึกษาที่ 2558 โดยได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 คน จากประชากรทั้งสิ้น 2,408 คน จึงได้สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) ต่อจากนั้นจึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ สถิติบรรยาย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ t-test, F-test
สรุปผลการวิจัย ดังนี้
1. ระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตในภาพรวมในระดับดี ( = 3.97, S.D. = 10.276)
2. ผลการทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาที่มีหลักสูตร และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกันของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกัน ซึ่งตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และสำหรับเพศ อายุ ชั้นปี ภูมิลำเนา และความถี่ในการค้นคว้าในห้องสมุดที่แตกต่างกันของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
The purpose of this research was 1) to study achievement motivation of students in Faculty of Humanities and Social Sciences, Suan Dusit Rajabhat University 2) to compare achievement motivation of students in Faculty of Humanities and Social Sciences, Suan Dusit Rajabhat University with their personal factors and 3) to study procedures for developing quality and enhancing achievement motivation of students in Faculty of Humanities and Social Sciences, Suan Dusit Rajabhat University. The population in this research were students who registered in academic years 2015. 360 samples were selected from all population 2,408 by Multistage Sampling and by Simple Random Sampling Method. The research instrument was the questionnaire about personal factors and achievement motivation. The data received were analyzed by descriptive statistics including percentage, mean, standard deviation and inferential statistics of t-test, and The result of the study was as follows :
1. The overall achievement motivation level of samples were at good levels ( = 3.97, S.D. = 10.276)
2. The results of hypothesis testing were as follows:
Students in Faculty of Humanities and Social Sciences, Suan Dusit Rajabhat University with different programs and academic achievement had difference achievement motivation with a statistical significance level of 0.05
Students in Faculty of Humanities and Social Sciences, Suan Dusit Rajabhat University with different gender, age, level of education , domicile and frequency in studying in the library had no different achievement motivation .
Article Details
Every article published in the Romphruek Journal of the Humanities and Social Sciences is the opinion and point of view of the authors. Thery're not the viewpoint of Krirk University or the editored department. Any part or all of the articles for pablication must be clearly cited.
References
กรมอาชีวศึกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
เกษตรชัย และหีม. (2550). องค์ประกอบในการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์, 13(3), 435-453.
พระมหาธานินทร์ ฐิติวีโร (อินทวี). (2545). การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ธัชพงศ์ เอี้ยวสกุล. (2551). แรงจูงใจในการเลือกเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 โรงเรียนพาณิชยการเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
นัยนา ไชยคิรินทร์. (2551). การพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมกลุ่มของนักเรียนโรงเรียนเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเชียงคาน, เลย.
ปราณี หลำเบ็ญสะ และ ชิดชนก เชิงเชาว์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.
รติวัลย์ วัฒนสิน นกุล ฤกษ์จริจุมพล และ สมธีราภ์ พรมศิริ. (2552). การคุยกันในชั้นเรียน. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, กรุงเทพฯ.
รอหานี สาหวี. (2553). ผลของวิธีสอนแบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี.
สุจินต์ เพิ่มพิทักษ์ และคณะ. (2552). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบัญชีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. รายงายการวิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
Active learning : Creating excitement in the classroom. (ASHE-ERIC Higher Education Report No.1). (1991). Retrieved from http://www.ed.gov/databases/ ERIC_ Digests/ ed340272.html
Alfred S. Alschuler. (1973). Developing Achievement Motivation in Adolescents. Englewood Cliffs, NJ : Educational Technology Publication.
McClelland, David C. (1961). The Achievement Society. New York : The Free Press.
Murrey, Henry H. (1964). Motivation and Emotion. Englewood Cliffs : Prentice Hall.