รูปแบบสมรรถนะวิชาชีพของผู้จัดทำบัญชีเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน ในจังหวัดนครราชสีมา;The Model of Competency of Accountants in ASEAN Free Trade Zone Opening in Nakhon Ratchasima Province

Main Article Content

สำราญ บุญเจริญ
ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี
ปาลิดา เชษฐ์ขุนทด เชษฐ์ขุนทด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะวิชาชีพของผู้จัดทำบัญชีเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียนในจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้จัดทำบัญชีเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียนในจังหวัดนครราชสีมา และ3) เสนอรูปแบบสมรรถนะของผู้จัดทำบัญชีเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน ในจังหวัดนครราชสีมา ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้จัดทำบัญชีในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยวิธีแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับสมรรถนะวิชาชีพของผู้จัดทำบัญชีเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียนในจังหวัดนครราชสีมา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้จัดทำบัญชีในจังหวัดนครราชสีมาส่วนใหญ่มีสมรรถนะวิชาชีพอยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่  ทักษะทางด้านปัญญา ด้านทักษะเฉพาะบุคคล ความรู้ในการวางแผนและควบคุมทางการเงิน  ด้านความรู้ทั่วไปของผู้จัดทำบัญชี จรรยาบรรณวิชาชีพ ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร ความรู้ด้านบัญชีการเงินของผู้จัดทำบัญชีต้องมี ทักษะการปฏิบัติงาน ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ตามลำดับ

2. ความรู้ทั่วไปผู้จัดทำบัญชี ทักษะทางด้านปัญญา ความรู้ในการวางแผนและควบคุมทางการเงิน และ จรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อสมรรถนะของผู้จัดทำบัญชีเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียนในจังหวัดนครราชสีมา

3.รูปแบบสมรรถนะวิชาชีพของผู้จัดทำบัญชีเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียนในจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปผู้จัดทำบัญชี ทักษะทางด้านปัญญา ความรู้ในการวางแผนและควบคุมทางการเงิน และ จรรยาบรรณวิชาชีพ ถึงร้อยละ 60.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 แสดงในสมการถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ดังนี้

สมการถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ

Yt  = 0.538 + 0.905X1 - 0.114 X4 + 0.138X3 – 0.072X9 

สมการถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนมาตรฐาน

Yt  = 2.774 + 20.118X1 - 3.632X4 + 3.072X3 – 2.513X9 

The purposes of this research are to 1) analyze the level competency of accountants in ASEAN free trade zone opening in Nakhon Ratchasima Province 2) analyze the factors  influencing the competency of accountants in ASEAN free trade zone opening in Nakhon Ratchasima Province 3) investigate the model of competency of accountants in ASEAN free trade zone opening in Nakhon Ratchasima Province. The data was collected by using questionnaires. The samples were 384 accountants in Nakhon Ratchasima province. The statistical analysis techniques used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient, and Multiple Regressions

The results of the research showed that;

1. The overall competency of accountants in ASEAN free trade zone opening in Nakhon Ratchasima Province was at high level. When considering by areas, ranging from the highest mean to the lowest mean. It was found that the cognitive skill received the highest mean, following by : personal skill, planning and financial control knowledge, general education in accountancy, ethics, interaction and communication skills, accounting and financial knowledge of accountants, operational skills and the foreign language skills, respectively.

2. The general education in accountancy, cognitive skill, planning and financial control knowledge, and ethics were factors that influenced the competence of accountants in ASEAN free trade zone opening in Nakhon Ratchasima Province.

3. The competency of accountants in ASEAN free trade zone opening in Nakhon Ratchasima Province were comprised of 60.70% of general education in accountancy, cognitive skill, planning and financial control knowledge, and ethics at the statistical significance of 0.05. This was shown in model of multiple regressions for the raw score and standard score as follows:

The raw score is Yt  = 0.538 + 0.905X1 - 0.114 X4 + 0.138X3 – 0.072X9 

The standard score is Yt  = 2.774 + 20.118X1 - 3.632X4 + 3.072X3 – 2.513X9

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กุสุมา ดำพิทักษ์ และคณะ. (2556). นักบัญชีที่องค์การธุรกิจต้องการ “เก่ง + ดี”. กรุงเทพฯ : บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

ชัยนรินทร์ วีระสถาวณิชย์. (2548). International Education Standards (EIS). สมาคมนักบัญชีและ ผู้สอบบัญชีผู้รับใบอนุญาตแห่งประเทศไทย, 1(4), 1.

ฐิติรัตน์ บุญมาก และ รติกร บุญสวาท. (2558). สภาพแวดล้อมในการทำงานและความรู้ ความสามารถของนัก บัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 21(1), 127-140.

ณัฐชา วัฒนวิไล และ จุฑามน สิทธิผลวนิชยกุล. (2012). การพัฒนาศักยภาพวิชาชีพบัญชีไทยเมื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ. Executive Journal, 32(3), 6-24.

ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี และคณะ. (2559). ความคิดเห็นของผู้จัดทำบัญชีที่มีต่อสมรรถนะวิชาชีพบัญชีเมื่อเปิดเสรีทางการค้าในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(1), 71-82.

ปรัศนีย์ กายพันธ์ และ นธี เหมมันต์. (2014). นักบัญชีไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. WMS Journal of Management, 3(3), 14-21.

พงศ์ศิรภพ ทองดีรวิสุรเกตุ. (2555). สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชี : มุมมองของผู้บริหารงานสายบัญชีในเขตการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

ศุภมิตร พินิจการ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีกรมสรรพสามิต. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สภาวิชาชีพในพระบรมราชูปถัมภ์. (2552). แม่บทบัญชี. กรุงเทพฯ : สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุรางค์รัตน์ แสงศรี และ ชิติพัทธ์ ชิตสกุล. (2555). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : มุนมองด้านการตลาดและการบัญชี. วารสารเซนต์จอห์น, 15(17), 167-183.

Black,K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. New York :John Wiley&Sons.

Taylor, Frederick W. (1991). Principles of Scientific Manager. New York : W. W.Newton Co.