การประชาสัมพันธ์ของสถานีตำรวจนครบาลและการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษา สถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง;Public Relations of Metropolitan Police Station and Community Participation: A Case Study of Thoongsonghong Police Station
Main Article Content
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประชาสัมพันธ์ของสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้องในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนต่อการประชาสัมพันธ์ของสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง และเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนต่อโครงการประชาสัมพันธ์ของตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง กลุ่มตัวอย่างประชากรประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ จำนวน 6 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 237 คน และประชาชนในพื้นที่ความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง จำนวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามประกอบกับแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาวิจัย พบว่าการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนต่อการประชาสัมพันธ์ของสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนต่อโครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ของสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง โดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน
This project aims to study the Public Relations of Thoongsonghong Police Station for building community participation , to study the levels of community leaders’ participation in the Public Relations of Thoongsonghong Police Station, and to study the levels of people in community participated in a project of police-community relations of Thoongsonghong Police Station. The samples consist of the six policemen responsible for community relations, two-hundred and thirty seven community leaders and four hundred residents in the responsible area of the Thoongsonghong Police Station. The samples were selected by purposive sampling and accidental sampling. The quantitative study was conducted with standard evaluation form and analyzed using descriptive statistics. The data was analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation (S.D). The results were as follows: The average level of the participation of the community leaders in the Public Relations of Thoongsonghong Police Station was at the high level. Also, the average level of the participation of people in community in the project of police-community relations was high.
Article Details
Every article published in the Romphruek Journal of the Humanities and Social Sciences is the opinion and point of view of the authors. Thery're not the viewpoint of Krirk University or the editored department. Any part or all of the articles for pablication must be clearly cited.
References
กรมตำรวจ. (2556). คู่มือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตำรวจ.
กรมตำรวจ. (2555). บทบาทหน้าที่ตำรวจไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตำรวจ.
ประเสริฐ เมฆมณี. (2551). ตำรวจและกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพฯ : บพิธ การพิมพ์.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2545). การบริหารงานตำรวจ. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มานิตย์ จันทร์จำเริญ. (2557). คำบรรยายหลักสูตรสารวัตรป้องกันและปราบปราม. กรุงเทพฯ : กรมตำรวจ.
ลักษณา สตะเวทิน. (2542). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : บริษัท เอเอ็นการพิมพ์ จำกัด.
ศรัณพร ชวนเกริกกุล. (2553). การสื่อสารและภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกริก.
สำนักงานเขตหลักสี่. (2557). เอกสารข้อมูลชุมชนที่จัดตั้งตาม ระเบียบกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : พัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม.
สุเมธ พิมพะ. (2542). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม กรณีศึกษา “ตำรวจบ้าน” อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
อิทธิพล สุขยิ่ง. (2537). ทัศนะของผู้นำชุมชนในพื้นที่เป้าหมายต่อการปฏิบัติงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ศึกษาเฉพาะกรณี กองบัญชาการตำรวจนครบาล. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ :
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. New York : Harper & Row.
Marston, John E. (2013). Modern Public Relations. New York : McGaw-Hill Irwin.
Mulgan, Geoff. 2005. People and Participation. London : Involve.
Mohammad, Sheikh Noor. (2010). People’s participation in development projects at grassroot level: A case study of alampur and jagannathpur union parishad (Master’s thesis). Bangladesh : Department of General and Continuing Education North South
University.