รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเขตสายไหม

Main Article Content

วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการ ความพร้อม ปัจจัยและข้อจำกัดในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร รวมทั้งศึกษาแนวทางการบริหารจัดการและรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเขตสายไหม เป็นการวิจัยฐานชุมชนหรือการวิจัยท้องถิ่น  (Community Based Research  หรือ  CBR) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในพื้นที่ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรนำร่องของเขตสายไหมจำนวน 8 แห่ง ได้แก่  ศูนย์เรียนรู้การแปรรูปขยะอินทรีย์ สวนผักไร้ดินทรีธรรศ  ฟาร์มเห็ดพันธุ์ธัช นาข้าวศักดิ์ชัย โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่ สวนเกษตรพอเพียงจ่าแป๊ะ  วิถีเกษตรลุงหง่า-ป้าลัดดาและ เกษตรชานกรุงจตุโชติ กลุ่มเป้าหมายคือเจ้าของพื้นที่และผู้แทนจากสำนักงานเขตสายไหมเข้ามาร่วมเป็นทีมวิจัย ผลการวิจัยพบว่าเจ้าของพื้นที่ทั้ง 8 แห่งมีความต้องการที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้แต่ความพร้อมของพื้นที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ ลักษณะอาชีพ เอกลักษณ์ ความชำนาญของแต่ละแห่ง ปัจจัยและข้อจำกัดในการพัฒนาการท่องเที่ยวคือการบริหารจัดการ การประสานงาน การประชาสัมพันธ์ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน  การปรับปรุงพื้นที่ให้สะดวก สะอาด ปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว การให้ความรู้ การมีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตลอดฤดูกาล  ความแตกต่างของประเภทนักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจ ดังนั้นแนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในระยะเริ่มต้นสำนักงานเขตสายไหมจะเป็นศูนย์กลางหลักในการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆโดยกำหนดแนวทางการบริหารกลุ่มพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเยี่ยมชมพื้นที่ราชการและกลุ่มเยี่ยมชมพื้นที่เอกชนกับส่วนบุคคล โดยมีรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่เขตสายไหมออกมาในรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรใน 1 วันที่แตกต่างกันใน 3 โปรแกรม เพื่อให้นักท่องเที่ยว ผู้สนใจสามารถเลือกได้ตามความต้องการที่แตกต่างกันไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2540). การดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ.กรุงเทพมหานคร.

(เอกสารอัดสำเนา).

เกตุวดี สมบูรณ์ทวีและคณะ. (2559). นวัตกรรมการท่องเที่ยวในกรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร “ไร่ปลูกรัก” จังหวัดราชบุรี.

(7 มิถุนายน 2560). สืบค้นจาก http://www.info.ms.su.ac.th/sums01/PDF01/ 1278_20170222_p_8.pdf.

เกศณีย์ สัตตรัตนขจร. (2550). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร : กรณีศึกษา หมู่บ้านปางมะโอ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศภรณ์ นาคเขียว. (2545). แนวการพัฒนาโป่งเดือด อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่.

สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เทพกร ณ สงขลา. (2556). รูปแบบการจัดการทรัพยากรเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ยั่งยืนในอำเภอช้างกลาง

จังหวัดนครศรีธรรมราช. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). (2559). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

(5 มีนาคม 2561). สืบค้นจาก http://www.dpe.go.th/content/file.

ลักษณา เกยุราพันธ์ และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวน

เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก. Veridian E-Journal, 9 (2).

วารุณี เกตุสะอาด. (2554). การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของพื้นที่เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร.

รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย มสธ. วิจัย ประจำปี 2554.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย และ ปิยะพร ธรรมชาติ. (2559). รูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพของจังหวัดปราจีนบุรีเพื่อ

การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน. สมาคมนักวิจัย, 21(3).

ศิริภา มณีรัตน์ และ จุฑาทิพย์ เฉลิมผล. (2560). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เหมาะสมของเส้นทางสายแม่ริม-สะเมิง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. (17 มิถุนายน 2559.) สืบค้นจาก

www.research.cmru.ac.th/research59/ris/download.php?download_file=article.

ศูนย์ประสานงานส่งเสริมการท่องเที่ยวเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. (2544). คู่มือการบริหารและจัดการท่องเที่ยวเกษตร.

เอกสารการประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริหารและจัดการ “การท่องเที่ยวเกษตร” ภายใต้

โครงการไทยเที่ยวไทยและท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามมาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.). (อัดสำเนา)

Akpinar, N., Talay, I., Ceylan, C. and Gundus, S. (2005). Rural women and agrotourism in the

context of sustainable rural development : A case study from Turkey.

Environment Development and Sustainability, 6(4) : 473-486.

Burkart, A. J. and S. Medrik. (1981). Tourism : Part Present and Future. Oxford : Butterworth-Hienemari Ltd.

Collier, A. and Harraway, S. (1997). Principler of Tourism. Auckland : Longman.

Hron, J. and Srnec K . (2004). Agrotourism in the context with the rural development. Czech University

of life Sciences Praque. (July 30, 2009). Retrieved from www.czu.cz.

Gusti Bagus Rai Utama. (2007). Agrotourism Development Bali. (October 30, 2017). Retrieved from https://raiutama thesis.blogspot.com/.

Pleumarom, A. (1999). The hidden cost of the “new” tourism –a ocus on biopiracy in Third World Network. (November 30, 2016). Retrieved from www.twnside.org.sg/ title/hidden.htm.

World Tourism Organization. (1997). International Tourism : A Global Prespective. 1st edition. Spain : Madrid.

World Tourism Organization. (2004). Indicators of Sustainable Development for Tourism Destination s : A Guidebook. Spain : Madrid.