มาตรวัดความผูกพันต่องานของพนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทธุรกิจการผลิต ในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผูกพันต่องานของพนักงานของพนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทธุรกิจการผลิตในจังหวัดปทุมธานี และเพื่อยืนยันองค์ประกอบความผูกพันต่องานของพนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทธุรกิจการผลิตในจังหวัดปทุมธานีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็น พนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทธุรกิจการผลิตในจังหวัดปทุมธานีโดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์รายบุคคลเชิงลึกจำนวน 12 คน และการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อใช้ในขั้นตอนของการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งเป็นเทคนิคของการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อมาสังเคราะห์บทสัมภาษณ์ผนวกกับแนวคิดทฤษฎีและนำมากำหนดเป็นข้อคำถาม 2) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale questionnaire) แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งชุดอยู่ที่ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตรวจสอบแบบจำลองโครงสร้างด้วยการยืนยันองค์ประกอบ
ผลการวิจัยพบว่า ความผูกพันต่องาน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1. ความขยันรับผิดชอบ 2. ความมุ่งมั่นทุ่มเท 3. ความเป็นหนึ่งเดียวกับงาน การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของความผูกพันต่องาน พบว่า ระดับความผูกพันต่องานในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย = 3.89 ในระดับสูง สมการโครงสร้างความผูกพันต่องาน มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 86.63, องศาอิสระ (df) เท่ากับ 72, p-value เท่ากับ 0.12 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.02 และดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.01 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.97 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.95
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
2. กาญจนา พันธ์ศรีทุม. (2559). อิทธิพลของปัจจัยด้านความยึดมั่นผูกพันในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง.ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิขาจิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปะศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
3. เกตุนภัสเมธีกสิวัฒน์. (2555). ความสัมพันธ์ของความผูกพันทุ่มเทของพนักงานที่มีต่องานและองค์การกับความตั้งใจลาออกของ พนักงานในธุรกิจโรงแรมจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
4. เจริญชัย พรไพรเพชร และคณะ. (2560). ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพในการประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อมของผู้ประกอบการในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถนายน 2560).
5. เวทย์นุชเจริญ. (2556). SMEs ต้องปรับตัวอย่างไรในสภาวะเศรษฐกิจขาลงประชาชาติธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม2560. จาก https://www.prachachat.
6. สถิติจังหวัดปทุมธานี. 2560. รายงานสถิติ จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2560.
7. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2556). สถานการณ์และตัวชี้วัดเชิงเศรษฐกิจของ SMEsปี 2555 และ ปี 2556. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2557, จาก www.sme.go.th/SiteCollectionDocuments/White%20Paper/2556/report01.pdf.
8. อรพินทร์ชูชม. (2557). การวิเคราะห์โครงสร้างความยึดมั่นผูกพันในงาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยี อีสเทิร์นปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2557.
9. Bakker, A. B., & Demerouti, E. (2008). Towards a Model of Work Engagement.Career Development International, 13, 209-223.
10. Bakker, A.B. (2009). Building engagement in the workplace. In R. J. Burke & C.L. Cooper (Eds.),the peak Performing organization (pp. 50-72). Oxonian, UK: Routledge.
11. DeVelis, R. F. (2012). Scale development: Theory and applications. 3 'ed.Newbury Park: Sage.
Maslach, C., Schaufeli, W.B., & Leiter, M.P. (2001). Job burnout. Annual Review of Psychology, 52, 397-422.
12. May, D.R., Gilson, R.L., & Harter, L.M. (2004). The psychological conditions of meaningfulness, safety and Availability and the engagement of the human spirit at work.Journal of Occupational and Organizational Psychology, 77, 11-73.
13. Leiter, M. P, & Bakker, A. B. (2010). Work Engagement: An Introduction. London and NewYork: Psychology Press.
14. Salancik, G.R. (1977). Commitment is too easy! Organizational Dynamics, 6(1), 62-80.
15. Schaufeli, W.B., et al. (2002). The measurement of engagement and burn out: A two-sample confirmatory Factor analytic approach.Journal of Happiness Studies, 3, 71-93.
16. Schaufeli, W.B., Bakker, A.B., & Salanova, M. (2006). The measurement of work.
17. Schaufeli, W.B., & Salanova, M. (2008). Enhancing work engagement through the management of humanresources, in Naswall, pp. 380-402.
18. Schaufeli, W. B., & Bakker, A. B. (2010). Defining and measuring work engagement: bringing clarity to the Concept.New York: Psychology Press.