ทุนทางจิตวิทยาด้านบวกที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

สัญชาติ พรมดง
กนกพร ชัยประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาถึงแนวคิดภายในบุคคลในด้านบวก ทั้งความเชื่อมั่นในตนเอง ตลอดจนถึงการปรับความยืดหยุ่นทางอารมณ์ที่มีต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทุนทางจิตวิทยาด้านบวกและระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน รวมทั้งเพื่อศึกษาทุนทางจิตวิทยาด้านบวกที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)โดยใช้การสุ่มตัวอย่างจำนวน 314 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความน่าเชื่อถือ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน แบบ T-test, F-test (One-Way ANOVA) เพื่อทดสอบสมมติฐานค่าความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณเพื่อการทดสอบสมมติฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ระดับทุนทางจิตวิทยาด้านบวกและระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าไม่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยังพบว่า ทุนทางจิตวิทยาด้านบวกในภาพรวมมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรชศา สิงห์อุดม และคณะ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่าการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ครูกับความผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 1(1) : 15.

2. เจนจิรา เกียรติธนะบำรุง. (2560). ความยืดหยุ่นทางอารมณ์และข้อเรียกร้องจากงานที่พยากรณ์ภาวะหมดไฟในการทำงานของ สัตวแพทย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครหนือ.

3. ช่อกาญจน์ สุขสุลาภ. (2556). การมองโลกในแง่ดี ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค และความสุขในการทำงานของพยาบาลในสถาบันของรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี. ปริญญามหาบัณฑิต. คณะศิลปศาสตร์สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

4. ณัฐวุฒิ อรินทร์. (2555). ปัจจัยเชิงเหตุและผลของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อสุขภาวะทางจิตและพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนใต้. งานวิจัยส่วนบุคคลปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์.

5. ดลปภัฎ ทรงเลิศ และคณะ. (2560). ความสัมพันธ์ของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความผูกพันต่อองค์การต่อผลการปฏิบัติงานของอาจารย์พยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ภาคใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี. 8(2) : 37-39.

6. ธัญญามาศ ปัญญยิ่ง. (2559). อิทธิพลของทุนทางจิตวิทยาด้านบวก คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การที่ ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกจากงาน ของพนักงานกลุ่มธุรกิจให้คำปรึกษา. ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

7. นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

8. ปรียาพร อนุรักษ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 4. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 1(1) : 28.

9. วรัญญา แดงสนิท. (2556). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาด้านบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยมีความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน: การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล. ปริญญามหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์. สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

10. ศศิ อ่วมเพ็ง. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานระดับบังคับบัญชาสำนักงานบัญชีกลาง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จากัด (มหาชน). ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

11. สายสัมพันธ์ จำปาทอง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง คุณภาพชีวิตในการทำงานและความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง. ปริญญามหาบัณฑิต. คณะศิลปศาสตร์. สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

12. สมชาย เรืองวงษ์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ฮิตาชิคอมเพรสเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

13. อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

14. อัญชลี จอมคำสิงห์ และคณะ. (2561). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกองการเจ้าหน้าที่ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 “Research 4.0 Innovation and Development SSRU’s 80th Anniversary” 20 มีนาคม 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร.

15. อุทัสน์ วีระศักดิ์การุณย์. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน. ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

16. Luthans, F., Avolio, B. J., Avey, J. B., & Norman, S. M. (2007). Positive Psychological Capital: Measurement and Relationship with Performance and Satisfaction. Personnel Psychology, 60(3), 541-572.

17. Peterson, E. & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. (3rd ed.). Ill: Irwin.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: anintroductory analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row.