การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

นิธิพล พุฒิ
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ เรื่องความน่าจะเป็นหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75.00 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ


              การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้  1) สร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้  2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 36 คน ของโรงเรียนโพธิธรรมสุวัฒน์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ รวม 12 ชั่วโมงและ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติ t-test แบบ One sample


           ผลการวิจัย พบว่า


  1. กิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมในระดับมาก (Mean = 4.48, S.D. = 0.42) และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับร้อยละ 59.19

  2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ เรื่อง ความน่าจะเป็น พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.69 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 78.98 และนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนของนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.68, S.D. = 0.14)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กมลพร ทองธิยะ. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดและการสอนแนะที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลแบบอุปนัยทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล เล่มที่ 1 ปีที่ 5 มกราคม - มิถุนายน 2562. วิทยาลัยสันตพล อุดรธานี.

2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

3. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ งานวิชาการโรงเรียนโพธิธรรมสุวัฒน์. (2559). รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report) ปีการศึกษา 2559. พิจิตร.

4. ไกรฤกษ์ พลพา. (2551). ชุดกิจกรรมแบบปฏิบัติการคณิตศาสตร์เพื่อป้องกันความคิดรวบยอดที่ผิดพลาด เรื่อง “วิธีเรียงสับเปลี่ยน”(Permutations) ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการมัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

5. ดวงใจ แก้วสูงเนิน. (2558). การวิจัยปฏิบัติการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยปฏิบัติจริงเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.ปริญญาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา (คณิตศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

6. นวลจิตต์ เชาวกีรพงศ์. (2542). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้านทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

7. ปกรณ์ ประจันบาน. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

8. พิมพ์ชนก แพงไตร. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดทอแรนซ์เรื่องอาหารและการดำรงชีวิต เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

9. ภัทรพล เมฆอากาศ. (2553). การใช้กิจกรรมปฏิบัติ เพื่อพัฒนาการให้เหตุผลเชิงความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพัฒนาประชาอุปถัมภ์จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์ศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

10. ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน์.

11. วรวรรณ กฤตยากรนุพงศ์. (2551). กิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องความเท่ากันทุกประการโดยใช้การแปลงทางเรขาคณิตและซอฟต์แวร์เราขาคณิตแบบพลวัต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.

12. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือครูสาระการเรียนรู้พื้นฐานคณิตศาสตร์เล่ม 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

13. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: หจก.ส เจริญ การพิมพ์.

14. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

15. สุรเชษฐ์ ศรีนาทม. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา เรื่องระบบสมการเชิงเส้นกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

16. อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

17. Adam, S., Ellis, C. and Beeson, F. (1997). Teaching Mathematics with Emphasis on the Diagnostic Approach. New York: Harper and Row.

18. Santoro, A. M. (2004). The Academic Value of Hand-on Craft Project in School, New York.