การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ SSCS เพื่อส่งสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง ภาคตัดกรวย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

Wanvarang Noisri
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ SSCS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องภาคตัดกรวย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SSCS ผู้วิจัยได้ดำเนินกระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) การสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ 2) การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนบ้านหมี่วิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน และ 3) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องภาคตัดกรวย และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t แบบ one sample t – test ผลการวิจัยพบว่า


  1. กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบ SSCS มีขั้นตอน 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ 1) ขั้นนำ 2) ขั้นสอน ประกอบด้วย
    3 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ (1) S : Search ขั้นค้นหา (2) S : Solve ขั้นแก้ปัญหา (3) C : Create ขั้นสร้างคำตอบ (4) S : Share ขั้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 3) ขั้นสรุป โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SSCS มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7189 หรือร้อยละ 71.89

  2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่องภาคตัดกรวย หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กมลพร ทองธิยะ. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดและการสอนแนะที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลแบบอุปนัยทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารวิชาการสันตพล เล่มที่ 1 ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2562).
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
[3] กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
[8] ปาริชาติ จันทะรัง. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบ SSCS เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(4), 85-93.
[9] สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2558). รายงานผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558. สืบค้น 20 มิถุนายน2562. สืบค้น 16 มิถุนายน 2562. จาก https://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb /School/ReportSchoolBySchool.aspx
[10] อภิณห์พร มานิ่ม. (2557). การใช้รูปแบบเอสเอสซีเอสเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[11] อัฟฟัต กาเดร์. ผลของการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบ SSCS ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสาร ALNUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอัล-นูร ปีที่ 12 ฉบับที่ 22 (มกราคม - มิถุนายน 2560).
[12] Johnson, E. Ahlgren, A., Blount,P. and Petit, K. (1981). Scientific reasoning : garden paths and blind alleys. Louisville, CO : ERIC.
[13] Sternberg, R.J. (1986). Essay on the Intellect. Association for Supervision and Curriculum Development.
[14] Pizzini, Edward L.; & Shepardson, Daniel P. (1991, December). Student Questioning in the Presence of the Teacher During Problem Solving in Science. School Science and Mathematics. 91(8): 348-352.
[15] Presseisen, B.Z. (1985). Developing Minds : A Resource Book for Teaching Thinking. Association for Supervision and Curriculum Development.