การออกแบบอัตลักษณ์เชิงเรขนศิลป์ หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแนวทางการออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กรเพื่อกำหนดอัตลักษณ์เชิงเรขนศิลป์ ให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กร 2) ศึกษาแนวทางการออกแบบหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ในสถานศึกษา 3) วิเคราะห์กำหนดรูปแบบในการสร้างอัตลักษณ์เชิงเลขศิลป์และ 4) เพื่อออกแบบชุดสี ตราสัญลักษณ์ ลวดลาย การ์ตูนสัญลักษณ์ และพื้นที่นิทรรศการถาวร เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณประกอบด้วยข้อมูลจากภาคเอกสาร และภาคสนาม จากการหาข้อมูล 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลในส่วนขององค์กร (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี) ส่วนที่ 2 ข้อมูลของหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ ส่วนที่ 3 ข้อมูลของการออกแบบเรขนศิลป์ และการอออกแบบการ์ตูนสัญลักษณ์ ในส่วนที่ 1 ประกอบด้วยผลสำรวจความคิดเห็นจากบุคลากรมหาวิทยาลัยฯ นักศึกษา ศิษย์เก่า ประชาชนทั่วไป 400 ท่าน และจากการสัมภาษณ์ ผู้บริหารยุคก่อตั้งองค์กร 9 ท่านสรุป ข้อมูลในส่วนที่ 1 พบว่า ประชากรกลุ่มตัวอย่างพอมีความเข้าใจในการออกแบบอัตลักษณ์เชิงเรขนศิลป์ อัตลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดคือ กล้วยไม้เหลืองจันทบูร มีภูมิศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติ ตัวกระทิง (สัตว์) อาคารเรียน รองลงมาตามลำดับ สรุปข้อมูลในส่วนที่ 2 ข้อมูลของหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ พบว่า อัตลักษณ์ทางรูปธรรม เป็นอาคารทรงโบราณ โทนสีที่บ่งบอกถึงยุคสมัย มีงานไม้ผสมสานกับตัวอาคารบ่งบอกถึงการเก็บรักษา ความเก่าเล่าเรื่อง แหล่งเรียนรู้ สรุปข้อมูลในส่วนที่ 3 การออกแบบเรขนศิลป์ และการอออกแบบการ์ตูนสัญลักษณ์ การหาอัตลักษณ์การตีความข้อมูลลักษณะทางรูปธรรมและทางนามธรรมตีความออกมาในรูปของเรขนศิลป์ เพื่อสร้างภาพจำ สร้างความเข้าใจให้ผู้รับสารจดจำได้ง่าย การ์ตูนสัญลักษณ์ที่สื่อออกมาในรูปนามธรรม เช่น สัตว์ คน สิ่งมีชีวิตที่มีความเกี่ยวข้องกับสถานที่ แสดงถึงความรู้สึกเชิงบวกให้แก่ผู้พบเห็น จากข้อมูลทั้ง 3 ส่วนพบว่าเป็นแหล่งเพราะเลี้ยงกล้วยไม้เหลืองจันทบูรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอัตลักษณ์ทางด้านภูมิศาตร์โดดเด่นด้านธรรมชาติ และเป็นแหล่งเรียนรู้วิชาการเกษตรมีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอาคารเรียนหลังแรก (อาคารไม้) มีชื่อสัตว์ (กระทิง) ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ มีบุคลิกภาพ และกลุ่มโทนสีที่บ่งบอกความเป็นธรรมชาติ เป็นแหล่งเรียนรู้ ความเป็นพื้นถิ่น ใช้ดอกเหลืองจันทบูรเป็นตราสัญลักษณ์หลัก รูปแบบตัวอักษรที่มีลักษณะกึ่งเป็นทางการ ซึ่งการระบุอัตลักษณ์ เป็นการสร้างภาพตัวแทนเชิงรูปธรรมของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
2. ณัฏฐิกา เมณฑกา. (2552). ศึกษาการออกแบบสัญลักษณ์เพื่อการปรับภาพลักษณ์องค์กร. วิทยานิพนธ์. (เอกสารอัดสำเนา).
3. ปิยะวรรณ ปิ่นแก้ว และคณะ. (2560). การศึกษาเอกลักษณ์ ภาพลักษณ์ บุคลิกภาพจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัย ศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 37.หน้า 223-244.
4. ประวัติโรงเรียนเกษตรกรรมจันทบุรี. (2552). เกษตรกระทิง 45 ปี. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพโรจน์ พิทยเมธี. (2551). การวิเคราะห์องค์ประกอบการออกแบบเลขนศิลป์ที่แสดงเอกลักษณ์ไทย. วิทยานิพนธ์. (เอกสารอัด สำเนา).
5. รัตนวรรณ คิม. (2557). การออกแบบเรขศิลป์เพื่อสร้างอัตลักษณ์ ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์สู่อาเซียน. วารสารศิลปกรรมศิลปกรรมบูรพา. 129 หน้า. ปี พ.ศ. 2557.
6. ไวพจน์ ดวงจันทร์, จุฑามาส ทรายแก้ว, ฐาปนพงศ์ สารรัตน์, กิตติพล เทียนทอง, วัชรินทร์ ภิญโญศาสตร์, สุดารัตน์ สอนบัว
และคณะ. (2560). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียการถ่ายทอดคติความเชื่อ และภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ของชาวไทยพวนผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560.วิทยาลัยสันตพล อุดรธานี.
7. ศักดา วิมลจันทร์. (2561). รายงานผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา “ขั้นตอนผลิตสติ๊กเกอร์ไลน์แบบ Creator Market”. [ออนไลน์] Available: https://www.research-system.siam.edu/images/809/05_ch2.pdf. สืบค้นข้อมูล 11 สิงหาคม 2561.
8. สโรชา เมฆอรุณ. (2557). การจัดการพิพิธภัณฑ์ในสถานศึกษาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ : กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์. สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
9. Ellen Lupton, ENNIFER COLE PHILLIPS. (สหทัศน์ วชิระนภศูล, แปล). HR-Tongnoi in Uncategorized. (พฤษภาคม 15, 2007). เข้าถึงได้จาก[ออนไลน์] Available: https://sophon56.wordpress.com. สืบค้นข้อมูลวันที่ 10 สิงหาคม 2561.