สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองบริเวณพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ประวัติความเป็นมาของสิทธิชุมชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองบริเวณพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ ตลอดจนศึกษาหลักเกณฑ์กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ เช่นกฎหมายประเทศออสเตรเลีย และกฎหมายอินเดีย เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับบริบททางกฎหมายไทย นอกจากนี้ยังมีการศึกษา และวิเคราะห์สภาพปัญหากฎหมายที่เกิดขึ้นในทางสังคมไทย รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับสถานการณ์กฎหมายในปัจจุบัน
จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยควรมีแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิชุมชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองบริเวณพื้นที่โดยรอบมรดกโลกทางธรรมชาติ ดังต่อไปนี้ 1) การตรากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิชุมชน
และการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการคุ้มครองมรดกโลกทางธรรมชาติที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) หน่วยงานของรัฐควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง และสามารถใช้อำนาจทางกฎหมายในทางปฏิบัติได้เหมาะสม อาทิการจัดตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยชุมชน ซึ่งกรรมการมาจากอธิบดีกรมอุทยานสัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรืออธิบดีกรมป่าไม้ หัวหน้าของชุมชน ตัวแทนของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำข้อกำหนดกฎกติกาเกี่ยวกับสิทธิชุมชนให้มีส่วนร่วมในมรดกโลกทางธรรมชาติ รวมถึงการกำหนดบทลงโทษหากมีฝ่าฝืนในสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว หรือกรณีหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
3) ประเทศไทยมีการกำหนดจัดทำนโยบายของชุมชน โดยให้คนเข้ามีส่วนร่วมกับรัฐในการกำหนดวิธี ขั้นตอน กฎกติกาชุมชน หรือการใช้หลักการนำชุมชนให้เข้าร่วมกระบวนการดูแลมรดกโลกทางธรรมชาติ (วิธีการจากประสบการณ์ โดย Compact
ซึ่งเป็นโครงการที่เกี่ยวกับการนำประสบการณ์การจัดการชุมชนที่อาศัยพื้นที่อนุรักษ์ และดูแลมรดกโลกทางธรรมชาติจากประเทศ ต่างๆ (Community Management of Protected Areas Conservation: COMPACT) โดยให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของชุมชนเข้ามาเป็นแนวทางปฎิบัติคุ้มครองแหล่งมรดกโลก ซึ่งมีความครอบคลุมทุกๆ ขั้นตอนของกระบวนการมรดกโลก นับตั้งแต่การเสนอชื่อ การจัดการ ติดตาม ตลอดจนการรายงานผล เพื่อต้องการให้แหล่งมรดกโลกอยู่อย่างยั่งยืน และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานเข้ามาช่วยกำกับดูแลมรดกโลกทางธรรมชาติ) มาประยุกต์กับบริบททางสังคมไทย เช่น การกำหนดให้ชุมชนผู้อาศัยมรดกโลกเป็นผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอชื่อ หรือการปกป้องทรัพย์สินที่เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
2. เกษม จันทร์แก้ว. (2527). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา
สาขาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3. ธาตรี มหันตรัตน. (2554). มรดกโลก (World Heritage) : ความสําคัญของอดีตในปัจจุบัน. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 (สิงหาคม).
4. นิตยา โพธิ์นอก. (2557). สิทธิในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.
5. บรรเจิด สิงคะเนติ. (2555). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
6. บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2560). กฎหมายสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โรงพิมพ์
เดือนตุลา.
7. ปวริศร เลิศธรรมเทวี. (2559). สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมกับรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.
8. ภานุเดช เกิดมะลิ. (2561). การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิสืบนาคะเสถียรเกี่ยวกับสิทธิชุมชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองมรดกโลกทางธรรมชาติ. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561.
9. ศักดิ์ณรงค์ มงคล. (2553). สมมติฐานเรื่องที่มาของปัญหาหลักของการร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างรัฐและชุมชน. บทความวิจัย. วารสารสหวิชาการท่าพระจันทร์สหวิทยาการปริทัศน์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
10 สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. สุวัตถิ์ ไกรสกุล และจุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญกรรม
ในเขตพื้นที่สถานนีตำรวจภูธรบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. บทความวิจัย วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 5 (มกราคม-มิถุนายน 2562).
12. สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 3. (2538). มรดกไทย- มรดกโลก. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร.
13. อรทัย อินต๊ะไชยวงศ์. (2560). สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อย่างสมดุล และยั่งยืน :ศึกษาความเหมาะสมของการใช้ทฤษฎีของ Einor Ostom ในประเทศไทย. นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
14. อุษณี อัศวกาญจนกิจ. (2553). การคุ้มครองผืนป่าดงพญาเย็น เขาใหญ่ ในฐานะที่เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.