การวิเคราะห์คุณภาพกำไรกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย

Main Article Content

รัชนู รุ่งหัวไผ่
กุสุมา ดำพิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คุณภาพกำไรใช้ตามแบบ The Modified Jones Model วัดจากรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหาร ส่วนผลตอบแทนของหลักทรัพย์ใช้ ราคาปิด ณ วันสิ้นปีของหลักทรัพย์


            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยกเว้นกลุ่มการเงิน จำนวน 303 บริษัท รวมระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 ถึง ปี พ.ศ. 2559 เก็บข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และฐานข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน
โดยทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05


            ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพกำไรมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของหลักทรัพย์ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหมายความถึงบริษัทที่มีรายการคงค้างที่อยู่ในดุลยพินิจของผู้บริหารต่ำจะมีคุณภาพกำไรสูงส่งผลให้ผลตอบแทนของหลักทรัพย์สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กนกพร ห้าวเจริญ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบัญชี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

2. เจริญชัย พรไพรเพชร และคณะ. (2560). ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพในการประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมของผู้ประกอบการในอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. ปี 2560 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) หน้า 28-41.
3. ดารานาถ พรหมอินทร์ และ กุสุมา ดำพิทักษ์. (2561). ความสัมพันธ์ของผลการดำเนินงานและคุณภาพกำไรต่อราคาตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 หน้า 37-59.

4. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). รายชื่อและบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นจาก https://www.set.or.th/th/company/companylist.html.

5. ธัญญาลักษณ์ เนียมอ่อน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างรายการคงค้างกับการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ : กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบัญชี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

6. ไพรัตน์ ยาดี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของหลักทรัพย์และอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร. ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบัญชี. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

7. สุทธิพงษ์ แพรกม่วง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น อัตราส่วนมูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้นและ อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนในการอธิบายผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในกลุ่มธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การประชุมงานวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติประจำปี 2557. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

8. อรอุมา ต้นดี. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อราคาตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม อุตสาหกรรมเกษตรและกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร. ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบัญชี. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

9. Javad Izadi Zadeh Darjezi, Ehasn Khansalar and Andrew Holt, (2015). The Role of Working Capital Accruals on Earnings Quality and Stock Returns. Lancaster University. United Kingdom.

10. Jones J, (1991). Earnings Management During Import Relief Investigation. Journal of Accounting Research, pp.193-2.

11. Joshua Ronen and Varda Yaari. (2008). Earning Management: Emerging Insights in Theory and Research Springer Series in Accounting Scholarship. (New York: Springer Science-Business Media).