1. ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ครูกับความผูกพันของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2

Main Article Content

กรชศา สิงห์อุดม
กฤษณา มาร์เชิร์ท
อาภารัตน์ ราชพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ครูกับความผูกพันของครูในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อสำรวจการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ครูในโรงเรียน  2) เพื่อหาความผูกพันของครูในโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ครูกับความผูกพันของครู ประชากร เป็นครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ปีการศึกษา  2556  จำนวน 1,130 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การสร้างภาวะผู้นำ  รองลงมาได้แก่  ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ   ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ย
ต่ำที่สุด  ได้แก่  ด้านการสร้างแรงจูงใจ 2)   ความผูกพันของครูในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  ความผูกพันต่อวิชาชีพ  รองลงมาคือ  ความผูกพันต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ความผูกพันต่อโรงเรียน 3) การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ครูกับความผูกพันของครูในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2  ผลการวิจัยพบว่า  มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง โดยมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กุหลาบ บึงไสย์. (2551). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ฐิตพัฒน์ สตางค์จันทร์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันครูกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ภัทราพร เกษสังข์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ภัทรวุธ สิทธิสาตร์. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน ค่านิยมในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานควบคุมธนาคารไทยพานิชย์จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิยะธิดา วรญาโณปกรณ์. (2546). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิทยา ยี่สารพัฒน์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกที่มีคุณค่าต่อตนเองกับการเสริมสร้างพลังอำนาจในวิชาชีพผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สถาพร บุตรไสย์. (2549). อิทธิพลของกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจที่มีต่อพลังอำนาจครู. ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาน นาวาสิทธิ์. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จทางวิชาการของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สาธิต รื่นเริงใจ. (2549). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรุณ โคตรวงษา. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอํานาจครูกับความผูกพันต่อองค์การของครูในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Steers, R.M., & Porter, L.W. (1983). Motivation and work behavior. 3rd ed. New York : Mcgraw - Hill.