ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชากรในเขตพื้นที่ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชลลดา เหมะธุลิน
จินตนา ชัยชนะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีแรงจูงใจและปัญหาอันเกิดจากพฤติกรรมในการจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดสระอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ที่มีต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 384 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบปัจจัยลักษณะข้อมูลทั่วไปแตกต่างกัน  มีผลต่อพฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน ด้านประชากรศาสตร์ คือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ระดับ 0.05 ซึ่งปัญหาด้านพฤติกรรมในการจัดทำบัญชีครัวเรือน คือ ประชาชนขาดความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน และไม่มีการจัดทำการรับ – จ่าย เงินอย่างต่อเนื่องปัญหาด้านการออม คือ ประชาชนมีพฤติกรรมการออมเงินที่น้อยและไม่มีการบริหารจัดการด้านการใช้เงินในแต่ละวัน จึงทำให้ไม่สามารถเก็บออมเงินไว้ใช้ยามจำเป็นได้ และปัญหาด้านการกู้ยืม คือ ประชาชนมีภาระหนี้สินการกู้ยืมจากธนาคาร และกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อบ้าน รถยนต์ ที่ดินและการศึกษาบุตรหลาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณาจารย์ภาควิชาจิตตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2537. จิตวิทยาทั่วไป.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไชยาทองต้อย. 2553. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกร ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์.บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ภูวสิทธิ์สิน ไชยกิจ. 2550. รูปแบบการออมภาคครัวเรือนในเขตเมืองและชนบทในจังหวัดเชียงใหม่.

ภัทราเรืองสินภิญญา. 2552. พฤติกรรมการบันทึกบัญชีรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.วารสารวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

รงค์ ประพันธ์พงศ์. 2550. เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่.กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์.

สุกัญญา ชัยวิชู. 2550. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชากรในอำเภอบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์วาสุกรี.

สุนีย์ ตฤณขจี และนิยะดาวิเศษบริสุทธิ์. 2551. การรับรู้และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจจัดทําบัญชีครัวเรือนของประชนในอําเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

องค์การบริหารส่วนตำบลกุดสระ, 2556. จำนวนประชากร. ค้นเมื่อ ธันวาคม 2556. www.kudsa.go.th/index.php.

Noll, A.N. 1989. Questionnaire Design Attitude Measurement. New york: Basic book publisher Inc.

Yamanee, Taro. 1973. Statistics: Am Introductory Analysis. 3 rd ed., New york : Harper & Row Publeshers.