การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ที่มีความแตกต่างกันทางด้านสภาพเศรษฐกิจและสังคม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน มูลเหตุที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และความเห็นของประชาชนเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีจำนวน 410 คน
ผลของงานวิจัยนี้พบว่าประชาชนที่มีความแตกต่างกันในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยส่วนใหญ่ประชาชนในกลุ่มตัวแปรที่ระดับการศึกษาต่างกัน จะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่หลักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร งานวิจัยพบว่าประชาชนทุกกลุ่มตัวแปรต่างมีความตื่นตัวในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ใกล้เคียงกัน ยกเว้นกลุ่มตัวแปรที่ไม่มีอาชีพจะตื่นตัวน้อยที่สุด งานวิจัยนี้ยังพบว่า มูลเหตุที่ประชาชนทุกกลุ่มตัวแปรใช้ในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ คุณสมบัติของตัวผู้สมัครและนโยบายของพรรคการเมืองประกอบกัน โดยคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นคนดีมีผลงาน กิริยาท่าทางเรียบร้อย นอบน้อมถ่อมตน รับฟังปัญหาชาวบ้านอย่างสม่ำเสมอ ส่วนทัศนคติที่ประชาชนทุกกลุ่มตัวแปรมีต่อตัวผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นทัศนคติที่ไม่ดี เพราะเชื่อว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งต่างก็มีการใช้เงินซื้อเสียง และมีการหาเสียงที่โจมตีคู่แข่ง และประชาชนทุกกลุ่มตัวแปรต่างไม่คาดหวังว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. เปิดโลกความคิดเสียงสวรรค์การเมืองไทย : วิจัยความคิดประชาชนเรื่องการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทซัทเซส มีเดีย จำกัด, 2539.
ชัยวัฒน์ รัฐขจร. ความเข้าใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ศึกษากรณี อำเภอ เมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า. 2538.
ทินพันธุ์ นาคะตะ. การเมืองการบริหารภาระของชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2534.
ธีรยุทธ์ บุญมี. ประชาธิปไตยตรวจสอบ ใน พิทยา ว่องกุล (บก) จุดจบรัฐชาติสู่ชุมชนาธิปไตย. โครงการวีดีทรรศน์ ชุดโลกาภิวัตน์ ลำดับที่ 2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พรินติ้ง แอน พับลิชชิ่ง. 2540.
นัฐพงศ์ สุขวิเศษ. เหตุผลของการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง : ศึกษาเฉพาะกรณี เขต 1 จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2536.
ประสิทธิ์ บุญลิขิต, การศึกษาวิจัยเรื่องสถานะทางเศรษฐกิจกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง : ศึกษาเฉพาะกรณีประชาชนในเขตสุขาภิบาลในอำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. 2531.
ปรีดี เกษมทรัพย์. ประชาธิปไตยกับชนชั้นกลาง. กรุงเทพฯ : วิญญูชน. 2536.
พรศรี ใจซื่อ. ปัจจัยที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หมู่บ้านฝาน้อย ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2523.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว และธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. รายงานวิจัยเรื่องคณะกรรมการการเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเอเชีย. 2539.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง : ทฤษฎีและผลการวิจัยเชิงประจักษ์. วารสารสังคมศาสตร์ สิงหาคม (2522) : 1-11.
มนตรี เจนวิทย์การ. ข้อคิดว่าด้วยบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ในยุคประชาธิปไตยทุนนิยม”, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์. ปีที่ 36 ฉบับที่ 18, 9-15 ตุลาคม พ.ศ. 2532.
ลิขิต ธีระเวคิน. วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2540.
วรวุธ วงศ์กิจจาเลิศ. การศึกษาเชิงประจักษ์เกี่ยวกับทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษาไทย และความสัมพันธ์กับคุณลักษณะทางสังคม. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2531.
วิภาภรณ์ ปราโมช ณ อยุธยา. การศึกษาเรื่องทัศนคติทางการเมือง ความรู้ความเข้าใจและความสนใจในการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร วันที่ 4 เมษายน 2519.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2520.
วิเชียร เกตุสิงห์. สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.
สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของคนไทย. กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2523.
สำนักคณะกรรมการการเลือกตั้ง จังหวัดอุดรธานี. สถิติการใช้สิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี. 3 กรกฎาคม 2554.
สุนันท์ เกษมชัยนันท์. ทัศนะคติทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสื่อมวลชนไทย : ศึกษาเปรียบเทียบผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์และผู้สื่อข่าวโทรทัศน์สายการเมือง. สารนิพนธ์ รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2536.
สุวิทย์ รุ่งวิสัย. พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนในอำเภอเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์. 2526.
เสริญ บุญญะหิตานนท์ และแน่งน้อย นะมาตย์. การวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติความรู้ความเข้าใจทางการเมือง และพฤติกรรมในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2520.
อรทัย ก๊กผล และโสภารัตน์ สาธุวงษ์. รายงานวิจัยเรื่อง สตรีกับการพัฒนาการเมือง. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2539.
อเนก เหล่าธรรมทัศน์. สองนคราประชาธิปไตย : แนวทางปฏิรูปการเมืองเศรษฐกิจเพื่อประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : มติชน. 2538.
Weiner, Myron. Political Participation : Crises of the Political Process. in Binder, L.et al. eds. Crises and Sequence in Political Development. Princeton, N.J. ; Princeton University Press, 1971.
Roth, David F., and Wilson, Frank L., The Comparative Study of Politics. Englewood Cliff, N.J. : Prentice-Hall, 1980.