โครงสร้างหลวมของสังคมไทยในบริบทคุณลักษณะของคนอาเซียน

Main Article Content

คณพศ สิทธิเลิศ

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างหลวมของสังคมไทย ที่อาจเป็นผลกระทบทั้งในทางที่ดีและเสียต่อการเปิดประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปีพุทธศักราช 2558 ซึ่งเป็นผลมาจากแต่เดิมของคุณลักษณะคนไทยที่เป็นสังคมเกษตรกรรม และศาสนาพุทธ ที่คนมักเป็นเจ้านายตนเองและเป็นผู้กำหนดเวลาในการทำงาน จึงมีความเป็นปัจเจกชนค่อนข้างสูง และจะทำทุกอย่างตามอำเภอใจ โดยไม่ค่อยให้ความใส่ใจต่อกฎเกณฑ์ของสังคม อีกทั้งคนไทยมีนิสัยชอบสนุกสนาน อิสระ ไม่ชอบถูกบังคับ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ชอบวางแผน ไม่ป้องกันในการแก้ไขปัญหาล่วงหน้า แต่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และทำงานเฉพาะกิจ จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าโครงสร้างสังคมหลวมนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย สำหรับข้อดีก็คือคนไทยมีความยืดหยุ่นจึงทำให้สามารถปรับตัวได้ง่ายในการที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ และความแตกต่างในความหลากหลายของคนในสังคมไทย เช่น สถานภาพทางเศรษฐกิจ ความเป็นเมืองและชนบท ชาติพันธุ์ ศาสนา การศึกษา แต่ก็ไม่ทำให้เกิดการแบ่งแยกกันมากนัก ซึ่งแม้จะมีความแตกต่างกันแต่ก็สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ ข้อเสียคือการทำงานของคนไทยไม่ค่อยมีการวางแผน ยึดตนเองเป็นหลัก และมักจะหลีกเลี่ยงต่อการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ กติกาของสังคมอยู่เสมอ  จึงเห็นควรที่จะดำเนินการในการหาแนวทางหรือมาตรการในการแก้ไขโครงสร้างหลวมให้เป็นโครงสร้างกระชับและมีความชัดเจนขึ้น ด้วยการหาวิธีการปรับเปลี่ยนเจตคติของคนให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการบังคับใช้กฎระเบียบอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมความสัมพันธ์โดยเน้นการปรึกษาหารือ และสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ถ้าหากกระทำได้เช่นนี้ก็น่าจะสอดคล้องกับคุณลักษณะของคนในประชาคมอาเซียน และ 3 เสาหลัก ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณพศ สิทธิเลิศ. (2554). รายงานการวิจัย คุณลักษณะของนักศึกษาที่มีผลต่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

จุรี วิจิตรวาทการ. (ม.ป.ป.). Key Concept และลักษณะคำถาม. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://idamppm14.files.wordpress.com/2008/11/keyconcept-drjuree.doc. (3 มกราคม 2556).

ณรงค์ เส็งประชา. (2538). มนุษย์กับสังคม.กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ทัศนีย์ ทองสว่าง. (2537). สังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ธวัชชัย พึ่งธรรม. (ม.ป.ป.). โครงสร้างทางสังคม. [ออนไลน์] แหล่งที่มา:http://ites.google.com/site/watrmutl/sm42 (29 ธันวาคม 2555).

พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ และธีรเวทย์ ประมวญรัฐการ. (2538). โครงสร้างสังคม. กรุงเทพมหานคร :จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2551). การรักษาเอกราชและการธำรงเอกลักษณ์. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.boybdream.com/managernews-content.php?newid=23831 (3 มกราคม 2556).

สุพัตรา สุภาพ. (2534). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

สุพัตรา สุภาพ. (2543). สังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

อรทัย เพชรสันทัด. (ม.ป.ป.). ปัญหาของสังคมไทย. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://www.moe.go.th/webtcs/Table4/Kosin12/1/he2.html(2 มกราคม 2556).

Embree, John F. 1950 “Thailand : A Loosely Structured Social System,” American Anthropologist,Yale University.