การจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 20
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 2) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่ปรึกษากิจกรรม นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการดำเนินกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ปรึกษากิจกรรม นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนในสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จำนวน 426 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในสถานศึกษา อยู่ในระดับดีทั้งในภาพรวมและรายด้าน2) ปัญหาการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในสถานศึกษา ไม่มีปัญหาทั้งในภาพรวมและรายด้าน
3) ความพึงพอใจของครูที่ปรึกษากิจกรรม นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งโดยภาพรวมและรายข้อ 4) แนวทางในการดำเนินการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ในสถานศึกษา มีดังนี้ด้านความเข้าใจในหลักการ และแนวคิดในการจัดกิจกรรม เขตพื้นที่การศึกษาควรจัดประชุมชี้แจงนโยบาย หลักการในการจัดกิจกรรมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ ด้านการอำนวยความสะดวก และสนับสนุนงบประมาณ ในการปรับปรุง และพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม สถานศึกษาควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยต่างๆ ให้มีความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการแสวงหาแหล่งเรียนรู้ วิทยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรม สถานศึกษาควรกระตุ้นให้ครูที่ปรึกษากิจกรรมได้แสวงหาแหล่งเรียนรู้ วิทยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในและนอกสถานศึกษามาใช้ในการจัดกิจกรรม ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดกิจกรรม สถานศึกษาควรกระตุ้นให้คณะกรรมการได้นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้านการประชุมเสวนาทบทวน สรุปผลหลังการปฏิบัติกิจกรรม(After Action Review : AAR) สถานศึกษาควรติดตามและเสนอแนะให้ครูที่ปรึกษากิจกรรมนำผลการประชุมเสวนาทบทวน สรุปผลหลังปฏิบัติกิจกรรมไปใช้ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ชุดาณัฏฐ์ แสนเหลาเจริญยิ่ง. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Microsoft Producer เรื่องการปฏิบัติเบอเกอรี่เบื้องต้น โดยใช้เทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้จากการทำงาน สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีสมุทรปราการ. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2559. วิทยาลันตพล อุดรธานี.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ณัฐกฤตา สุวรรณทีป. (2557). นโยบายการบริหารจัดการและสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แบบสองภาษาในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
ดำรัสวิทย์ ปทุมมาศ. (2555). ศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียนสังกัดจังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรเพ็ญ ไตรพงษ์. (2556). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักศึกษาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสารสนเทศในการเรียน การสอนวิชาพระธรรมนูญศาลยุติธรรม. วิทยานิพนธ์ ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. (2557). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เทียนวัฒนา พริ้นท์ติ้ง.
ยุทธสิทธิ์ จันทร์คูเมือง. (2560). สภาพการเรียนวิชาประกันคุณภาพของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล. วารสารวิชาก
ารวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560. วิทยาลันตพล อุดรธานี.
วิชัย ประสิทธิวุฒิเวชช์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรสานต่อที่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : เลิฟแอนด์ลิพ เพรส.
ศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการนิเทศ ติดตามและรายงานผลการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาการนิเทศและเร่งรัดคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555 – 2559). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้.” กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
เอกอนงค์ ศรีสำอางและคณะ. (2556). รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตลอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย.