แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 จำนวน 90 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสอบถามปลายเปิด ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC เท่ากับ 0.67 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่าสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ( = 3.65) รองลงมาตามลำดับคือด้านการวัดผลและประเมินผล ( = 3.63) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ( = 3.61) แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ดังนี้ 1) ควรจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม โดยสอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน 2) ควรส่งเสริมให้ครูดำเนินการวัดผลประเมินผลโดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง และ 3) ควรกำหนดเป้าหมายความสำเร็จในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาและเป้าหมายความสำเร็จของเขตพื้นที่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กาญจน์ เรืองมนตรี และธรินธร นามวรรณ. (2554). การบริหารงานวิชาการและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
กรชศา สิงห์อุดม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ครูกับความผูกพันของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม –มิถุนายน 2558. วิทยาลันตพล อุดรธานี.
บรรหาร เทียมเมฆ. (2546). ศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
เมตตา ภัทราภรณ์ไพบูลย์. (2556). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.
วารี ศิริรัตนอำพร. (2550). การศึกษาการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในกิ่งอำเภอนิคมพัฒนาจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สารัช วิเศษหลง และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อ Tablet PC เพื่อการศึกษาในโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560. วิทยาลันตพล อุดรธานี.
สิริพร ธนะสมบูรณ์. (2552). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1.