แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า จากการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของ ที่ระลึก : กรณีศึกษาแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ไวพจน์ ดวงจันทร์
จุฑามาส ทองบัวร่วง
ภูมิพัฒน์ ชมภูวิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกบ้านเชียงเพื่อให้ได้แนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก โดยแบ่งการศึกษาเป็น ระยะที่ 1 ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของที่ระลึกและศึกษารูปแบบของที่ระลึกแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล (In-depth interview) ระยะที่ 2 พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการกับการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของที่ระลึกมรดกโลกบ้านเชียงสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกมรดกโลกบ้านเชียง ประกอบด้วย (1) การฝึกอบรมให้ความรู้ (2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 55 คน ได้แก่ กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองไทพวน กลุ่มเครื่องจักสาน กลุ่มเครื่องปั้นดินเผา กลุ่มผลิตภัณฑ์โฮมสเตย์ และผู้บริหารเทศบาลตำบลบ้านเชียง/ผู้นำชุมชนตำบลบ้านเชียง


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย ผ้าทอพื้นเมือง เป็นผ้ามัดหมี่ ลายไหบ้านเชียง ทอด้วยมือ กระติบข้าวและงานเครื่องจักสาน เก็บความร้อนได้ดีและ เครื่องปั้นดินเผาเขียนลายบ้านเชียง การเลียนแบบไหบ้านเชียงโบราณทั้งรูปแบบ ลวดลายและสีสัน เป็นการคงไว้ซึ่งรูปแบบของเครื่องปั้น โดยผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์มากกว่าจะเป็นผู้สอนให้กับลูกหลาน จากรุ่นต่อรุ่น การเขียนลายไหบ้านเชียงและปั้นหม้อมีการหัดเขียนมาตั้งแต่เด็ก โดยมีการเปิดเป็นการเรียนการสอนในโรงเรียนบ้านเชียง มีการพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายขึ้น 2)แนวทางการพัฒนาการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ พบว่า สินค้าในรูปแบบที่มีความแตกต่างไปจากเดิมจะทำให้ลูกค้ามีความสนใจขึ้น และขายได้เร็ว มีการประยุกต์ให้แปลกใหม่ดูน่าสนใจ นำมาแปรรูปแบบที่ทันสมัยเข้ากับกระแสนิยมในปัจจุบันขึ้นเพื่อให้เข้ากลับกลุ่มลูกค้า การสร้างตราสินค้า และการขอรับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อรับรองคุณภาพสินค้า เพิ่มบรรจุภัณฑ์เพื่อความสมบูรณ์ของสินค้าและการออกแบบรูปแบบสินค้าในรูปแบบใหม่ๆ ออกแบบให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน โดยการนำเอาความเป็นบ้านเชียงมาประยุกต์ให้เป็นเอกลักษณ์รักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชยาภรณ์ ชื่นรุ่งโรจน์. (2537). การวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยว. เชียงใหม่: ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญเลิศ มรกต และกฤตกร กล่อมจิต. (2544). การศึกษาหัตถกรรมจักสานครุน้อย บ้านสะอาง ต.ห้วยเหนือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ : มปท.

ประชิด ทิณบุตร. (2531). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ประเสริฐ ศิลรัตนา. (2531). ของที่ระลึก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ศรีวรรณ จันทร์หงษ์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องงานจักรสานชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ศึกษากรณีโรงเรียนยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์) จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2538). ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : พิมพลักษณ์, พิมพ์ครั้งที่ 3.

อารี สุทธิพันธุ์. (2527). การออกแบบ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชย์, พิมพ์ครั้งที่ 3.

เอกวิทย์ ณ ถลาง และคณะ. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : พิมพลักษณ์, พิมพ์ครั้งที่ 1.