การศึกษาพระพุทธรูปสำคัญ ในจังหวัดเชียงรายเพื่อเพิ่มศักยภาพเส้นทางการเรียนรู้ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
เส้นทางตามแนวถนนสายจากอำเภอเมือง ผ่านอำเภอแม่จัน ไปยังอำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในอดีตกาลมีชุมชนโบราณที่มีความรุ่งเรืองต่างๆย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน จึงยังปรากฏมรดกวัฒนธรรมที่น่าสนใจหลงเหลือไว้หลายแห่ง ปัจจุบันเส้นทางเส้นทางดังกล่าวนี้กลับมุ่งเน้น เพียงการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และการติดต่อทางธุรกิจการค้า โดยละเลยสิ่งที่สำคัญของเส้นทาง คือ สถานที่ที่มีความเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณ อาทิ อาณาจักรเชียงแสน อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของล้านนาในอดีต ซึ่งยังคงหลงเหลือหลักฐาน คือ “พระพุทธรูปองค์สำคัญในหลากหลายยุคสมัย” ดังนั้นเพื่อเพิ่มศักยภาพองค์ความรู้บนเส้นทางดังกล่าวนี้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูปสำคัญ เพื่อศึกษาถึงคุณค่าทางความเชื่อศิลปกรรม และประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการสักการบูชาพระพุทธรูปสำคัญและเพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการเส้นทางการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยการนำเรื่องราวของพระพุทธรูปสำคัญเข้ามาเป็นตัวเชื่อมโยงการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงรายต่อไป
ผลการศึกษาพบพระพุทธรูปสำคัญที่มีคุณค่า ความศักดิ์สิทธิ์ และเชื่อมโยงกับเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองและชุมชนกระจายอยู่ในวัดต่างๆ ในเขตอำเภอเมือง อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย จำนวนทั้งสิ้น 24 องค์ หากแต่มีความหลายหลายทางบริบทของแต่ละองค์ จึงได้สร้างเกณฑ์เพื่อทำการคัดเลือกพระพุทธรูปสำคัญที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมีความศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนในพื้นที่ เพื่อนำเสนอเป็นแหล่งเรียนรู้บนเส้นทางสายดังกล่าว ผลจากการวิเคราะห์จึงคัดเลือกพระพุทธรูปสำคัญได้จำนวน 9 องค์ บนเส้นทางดังกล่าว ได้แก่ พระหยกเชียงราย (พระพุทธรัตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล) จากวัดพระแก้ว พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์จำลอง) จากวัดพระสิงห์ หลวงพ่อพระศรีมิ่งเมือง จากวัดมิ่งเมืองอยู่ในเขตอำเภอเมือง พระพุทธรูปปาฏิหาริย์มงคลจากวัดฝั่งหมิ่นอยู่ในเขตอำเภอเมือง หลวงพ่อโต (พระพุทธรูปเชียงแสน 5 พระองค์) จากวัดพระธาตุจอมจันทร์ อยู่ในเขตอำเภอแม่จัน หลวงพ่อผาเงา จากวัดพระธาตุผาเงา หลวงพ่อเชียงแสนสิงห์หนึ่ง จากวัดพระธาตุเจดีย์หลวง พระพุทธนวล้านตื้อ (พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน) ณ บริเวณจุดชมวิวสามเหลี่ยมทองคำ อยู่ในอำเภอเชียงแสน พระเจ้าอินทร์สาน จากวัดพระธาตุดอยเวา อยู่ในเขตอำเภอแม่สาย แล้วนำมาจัดเป็นเส้นทางการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เรื่องพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดเชียงราย นอกจากนั้นเพื่อให้เส้นทางการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบรรลุเป้าหมาย เกิดประสิทธิภาพจึงเสนอรูปแบบของการจัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงให้วัดและภาคประชาชนในแต่ละสถานที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม จึงได้ร่วมกับชุมชนจัดทำสื่อเพื่อการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับการท่องเที่ยว รวมทั้งการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ให้ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
จิตร บัวบุศย์. (2509). สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย. พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพขุนจิตรการชำนิ, ม.ป.ท.
นำชัย เต็มศิริเกียรติ. (2553). พุทธตำนาน พระเจ้าเลียบโลก. เชียงใหม่: โรงพิมพ์นันทพันธ์.
พิชญ พิทักษ์. (2537). เที่ยวเมืองไทยภาคเหนือ 17 จังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หอสมุดกลาง 09.
ชยาภรณ์ ชื่นรุ่งโรจน์. (2537). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว. ภาควิชามนุษย์สัมพันธ์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ณัฐพล บัวอุไร. (2554). การจัดการการเรียนรู้โดยใช้ Social Media ตามทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง. กลุ่มสาระการเรียนรู้งานอาชีพ และเทคโนโลยี. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อำเภอลำลูกกา จังหวัด ปทุมธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
สุรางค์โค้วตระกูล. (2550).จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงราย. (ม.ป.ป.).ข้อมูลการตลาดจังหวัดเชียงราย ประจำปี 2535-2536. ม.ป.ท.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2554). พระพุทธรูปในล้านนา.เชียงใหม่: โรงพิมพ์ตะวันเหนือ.