การจัดการความขัดแย้ง : กรณีพิพาทการสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ขาน จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วาสนา สุขกุล
น้ำเพ็ชร วินิจฉัยกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางออกของความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรน้ำกรณีพิพาทโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ขานจังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาจากชาวบ้านใน หมู่บ้านแม่ขนิลใต้และหมู่บ้านสบลาน ซึ่งเป็นหมู่บ้านในพื้นที่ๆ คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการฯ ส่วนขั้นตอนและวิธีการการวิจัยเป็นการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กิจกรรมการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายทั้งสองหมู่บ้านดังกล่าว ผลการวิจัย พบว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านทั้งสองหมู่บ้านมีรูปแบบในการจัดการความขัดแย้ง 5 รูปแบบอันส่งผลทำให้เกิดการชะลอโครงการฯ ได้แก่ 1) การยื่นหนังสือ 2) การชุมนุมประท้วง 3) การเปิดเวทีการเจรจา 4) การเสนอวาระและถกเถียงในการประชุมระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ และ 5) การจัดเวทีสาธารณะ นอกจากนี้ในส่วนของแนวทางออกชาวบ้านเสนอให้มี “การถวายฎีกา”เพื่อเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการยุติความขัดแย้งโดยชาวบ้านยินดีรับสนองพระราชดำริ สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯและการแก้ปัญหาควรมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ 1) มีความเป็นธรรม 2) มีอำนาจที่แท้จริงในการตัดสินใจ 3) มีความรู้ความสามารถหรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารจัดการโครงการฯ เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองเลขานุการสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ. 2545. โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ขาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่. เอกสารประกอบการเจรจา.เชียงใหม่, มีนาคม 2545.

การประชุมคณะอนุกรรมการการแก้ไขปัญหาของกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ กรณีปัญหาการจัดการน้ำ. 2545. เอกสารประกอบการประชุม. (ม.ป.ท.), 3 กรกฎาคม 2545.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (2556). เขื่อนปากมูล. เข้าถึงได้จาก: http://www.egat. co.th/images/information/plants-info/pakmoon_thai.pdf [20 กรกฎาคม 2556].

โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ขาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. 2547. บันทึกการประชุมโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ขาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. เชียงใหม่, 13 พฤษภาคม 2547.

ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ.2543. นิเวศวิทยาการเมืองของการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศไทย: กรณีศึกษาโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น”.วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐพร แสงประดับ. 2525.ผลกระทบต่อแหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์จากการสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นาท ตันวิรุฬห์และพูลทรัพย์ สมุทรสาคร. 2528.วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมและการบริหารทรัพยากร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด, บริษัท พรีดีเวลลอปเมนต์ คอนซัลแตนท์และบริษัท ซันยู คอนซัลแตนท์ส (ประเทศไทย). 2540. โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ขาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานฉบับสมบูรณ์. กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: เชียงใหม่.

มนัส สุวรรณ. 2532. อ่างเก็บน้ำและปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ นิเวศวิทยากับการพัฒนาเศรษฐกิจ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. 2544. แนวนโยบายการจัดการน้ำสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

วิชัย ปัญจมานนท์. 2521. ตัวอย่างเขื่อนที่สร้างแล้วป่าถูกทำลาย.ฝ่ายเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้. เอกสารถ่ายสำเนา.

วีรนุช ปิณฑวณิช.2539. นโยบายและบทบาทของธนาคารโลกที่มีผลต่อการสร้างเขื่อนปากมูล.วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

สืบ นาคะเสถียร และคณะ. 2530. การประเมินผลงานช่วยเหลือสัตว์ป่าตกค้างในพื้นที่อ่าง เขื่อนเชี่ยวหลาน(เขื่อนรัชประภา)จังหวัดสุราษฎร์ธานี.กรุงเทพมหานคร:กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้

Sukkul Wassana. 2006. The satisfaction of Villagers within the impacted areas toward Maekham Dam Project. M.S.Thesis Mahidol University: Bangkok.