สภาพและปัญหาการดำเนินการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19

Main Article Content

พิษณุวัชร์ สวัสดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 2) เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 3) เพื่อเปรียบเทียบสภาพ และปัญหาการดำเนินการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย .คือ. ครูผู้สอนในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 จำแนกเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็ก.. จำนวน 1,957 คน  ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า


  1. ครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านขั้นการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการประชาคมอาเซียน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ขั้นการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน

  2. ครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ  ด้านขั้นวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางเพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านขั้นการจัดทำแผนผังความคิดหน่วยการเรียนรู้

  3. ครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน ประสบการณ์ทำงานและวุฒิการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการดำเนินการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอาเซียน. (2552 ก). แนะนำให้รู้จักอาเซียน.กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน.

_______. (2552 ข). บันทึกการเดินทางอาเซียน. กรุงเทพฯ : วิธิตาแอนิเมชั่น จากัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การศึกษา : การขับเคลื่อนสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กาญจนา คุณารักษ์. (2543). พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร เล่ม 1. นครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยา เขตพระราชวังสนามจันทร์.

จารุวรรณี แพร่ศรีสกุล. (2556). สภาพและแนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จินทนา กันยาทอง.(2554). การพัฒนาการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบางสะพานวิทยา โดยใช้ชุดคำถาม “มาเรียนรู้เรื่องอาเซียนกันเถอะ” วันที่ค้นข้อมูล 6 ธันวาคม 2555, เข้าถึงได้จาก203.172.204.108/downloads/บทคัดย่องานวิจัยของกลุ่มสาระฯ.pdf‎

เฉลียว เถื่อนเภอ.(2554).การดำเนินงานเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียน เครือข่ายศูนย์อาเซียนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต1.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านจอมบึง.

นที ศิริมัย.2529.การศึกษาความสามารถในการสร้างความคิดรวบยอดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สังคมศึกษา ชั้นปีที่ 2 ด้วยการสอนแบบบูรณาการ.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ผกา สัตยธรรม.(2550).คุณธรรมของครู.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผดุงศักดิ์ อุบายลับ.(2545).ความพร้อมขององค์กรบริหารส่วนตำบลในการรับโอนงานด้านการศึกษาสู่ท้องถิ่น : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลพบุรี.ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรรณี ช. เจนจิต.(2545).จิตวิทยาการเรียนการสอน .(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : เมธีทิปส์.

_______.(2538).จิตวิทยาการเรียนการสอน.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่.

พรศ อะมะวัลย์.(2555). การเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการในชั้นเรียนของครูโรงเรียนสัตหีบ เขตฐานทัพเรือและเขตกองเรือยุทธการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนสู่ประชาคมอาเซียน.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ญทิพย์ ชัยพัฒน์.(2549).จิตวิทยาการจูงใจและการรับรู้.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฟาฏินา วงค์เลขา.(2555). การสร้างภาคีเครือข่ายพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน. ดลินิวส์, หน้า 12.

ราตรี สีงาม.(2555).การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วิเชียร เวชสาร.(2546).ความพร้อมในการจัดการศึกษาปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี.

สรศักดิ์ บัวแย้ม.(2556).การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคาอาเซียนของโรงเรียนประชานิเวศน์ สำนักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.(2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ. 2552 -2561) (ปรับปรุงพิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.