ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการตัดสินใจซื้อกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของที่ระลึกของนักท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการตัดสินใจซื้อกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าของที่ระลึกของนักท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการซื้อสินค้าของที่ระลึกในจังหวัดอุดรธานี ด้านกระบวนการตัดสินใจซื้อ ลักษณะความต้องการซื้อสินค้าของที่ระลึกของนักท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้สถิติทดสอบไค-สแควร์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า
พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการซื้อสินค้าของที่ระลึกของจังหวัดอุดรธานี ด้านประเภทผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่เลือกซื้อ ส่วนใหญ่ซื้อของที่ระลึกประเภทสินค้าประเภทเสื้อผ้า รองเท้า รองลงมาได้แก่ พวงกุญแจ ด้านเหตุผลในการเลือกซื้อของที่ระลึก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อของที่ระลึกของจังหวัดอุดรธานีเพราะซื้อเพื่อนำไปเป็นของขวัญให้แก่คนรู้จักตามเทศกาลต่างๆ ด้านจำนวนครั้งที่เคยซื้อ นักท่องเที่ยวมีความถี่ในการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกของจังหวัดอุดรธานี 1 ชิ้นต่อครั้ง โดยในแต่ละครั้งจะมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าของที่ระลึกประมาณ 501 – 1,000 บาท ด้านแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ทราบถึงข้อมูลสินค้าของที่ระลึกของจังหวัดอุดรธานีจากเพื่อนแนะนำ ด้านสถานที่ที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของจังหวัดอุดรธานีนั้น นักท่องเที่ยวเลือกซื้อของที่ระลึกจากห้างสรรพสินค้าเซนทรัล พลาซ่า อุดรธานี เนื่องจากมีสถานที่ในการจอดรถที่สะดวกสบายและมีการจัดวางสินค้าเป็นหมวดหมู่ ทำให้ง่ายต่อการหาสินค้าที่ต้องการ
กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของที่ระลึกของนักท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี มีกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อด้านการตระหนักถึงปัญหา ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวซื้อสินค้าของที่ระลึกของจังหวัดอุดรธานีเพื่อนำไปเป็นของขวัญตามเทศกาลต่างๆ ด้านการค้นหาข้อมูลข่าวสาร นักท่องเที่ยวได้รับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกของจังหวัดอุดรธานีจากเพื่อนมาก่อน ด้านการประเมินทางเลือก นักท่องเที่ยวที่มาซื้อสินค้าของที่ระลึกในจังหวัดอุดรธานีเห็นว่าสินค้าของที่ระลึกของจังหวัดอุดรธานี มีรูปแบบและสีสันสวยงาม ด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าของที่ระลึกของจังหวัดอุดรธานีนั้น นักท่องเที่ยวเป็นผู้ตัดสินใจเลือกซื้อด้วยตัวเองเป็นหลัก ด้านพฤติกรรมภายหลังการซื้อ นักท่องเที่ยวที่ซื้อสินค้าของที่ระลึกในจังหวัดอุดรธานีคิดว่าจะกลับมาซื้อสินค้าของที่ระลึกของจังหวัดอุดรธานีอีก และนักท่องเที่ยวคิดว่าจะแนะนำให้บุคคลอื่นได้รู้จักและซื้อสินค้าของที่ระลึกของจังหวัดอุดรธานี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
นายชูเกยีรติ ศิริวงศ์. 2553. พฤติกรรมการซื้อสินค้าของที่ระลึกของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น : กรณีศึกษาโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พูลศิริ กลายสุข. 2554. พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้ากลุ่มของที่ระลึกบนถนนคนเดิน ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วนิดา แก้วเนตร 2545. ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกประเภทหัตถกรรมพื้นบ้านของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา บ้านถวาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กฤษดากร เศรษฐเสถียร. 2554. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของที่ระลึกของนักท่องเที่ยวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐนรี ตั้งตระกูล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าที่ระลึกประเภทไม้ของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาบ้านหัวดง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร.
พิเชฐ คูหเพ็ญแสง. 2546. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบริเวณชายหาดจังหวัดระยอง. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิไลวรรณ ศิริอำไพ. 2555. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยว ตลาดโบราณบ้านสะแกกรัง (ถนนคนเดินตรอกโรงยา) จังหวัดอุทัยธานี. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปานลดา อินทร์ไชย. 2554. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของที่ระลึกในการเชียร์ฟุตบอล ในจังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าอิสระ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริเพ็ญ เยี่ยมจรรยา. พฤติกรรมและการตัดสินใจเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ตำหนักสายสุทธานภดลในวังสวนสุนันทาของนักท่องเที่ยวชาวไทยและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ. 2555. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชัญญานุช มหาทุมะรัตน์ .2555. พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นคว้าอิสระ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชลดา แสนคำเรือง, กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์การท่องเที่ยว:กรณีศึกษา การท่องเที่ยวในจังหวัดเลย. ค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
อรนงค์ บุญวัน. 2554. ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ดารา ทีปะปาล. 2546. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: หจก.รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท. 2542. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ยิ่งเจริญออฟเซท.
ธงชัย สันติวงษ์. 2540. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
บุญธรรมกิจ ปรีดาบริสุทธิ์. 2534. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรมหาวิยาลัย.
ปณิศาลัญชานนท์. 2548. หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัทธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.
Allport, G. W. (1946). “Pattern and growth in personality”. New York: Holt-Rein Chart & Winston.
Boulding, Kenneth E. (1975). “The Image. Knowledge in Life and Society”. Ann Arbor: The University of Michican.
Jefkins.Frank. (1993). “Planned Press and Public Relations”. 3rd. ed.GreatBritain : Alden Press.