3. การศึกษาการรับชมดิจิตอลทีวีก่อนการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกของประชาชน ในอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

เชษฐพัฒน์ สิริวัฒนตระการ
สุธัญญา กฤตาคม
กัญญาภัทร จำนงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับชมดิจิตอลทีวีของประชาชนในพื้นที่เริ่มต้นการยุติการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด โดยคณะผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ในอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 5% จากประชากรทั้งสิ้น 46,400 คน และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,320 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย


ผลการวิจัยพบว่า อำเภอจังหาร ปัจจุบันประชาชนได้รับชมโทรทัศน์ผ่านช่องทางดาวเทียม จำนวน 1,824 คน คิดเป็นร้อยละ 78.62 รองลงมา คือ รับชมโทรทัศน์ผ่านเสารับสัญญาณ(หนวดกุ้ง/ก้างปลา) จำนวน 285 คน คิดเป็นร้อยละ 12.29 และรับชมโทรทัศน์ผ่านเคเบิ้ลทีวี จำนวน 142 คน คิดเป็นร้อยละ 6.12 ตามลำดับ  ส่วนความต้องการของประชาชนในการเปลี่ยนมารับสัญญาณดิจิตอลทีวีจากเสาหนวดกุ้งหรือก้างปลา พบว่า ประชาชนมีความต้องการเปลี่ยนรับสัญญาณดิจิตอลทีวีจากเสาหนวดกุ้งหรือก้างปลา จำนวน 1,609 คน คิดเป็นร้อยละ 69.35  และการนำคูปองไปแลกกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี พบว่า ประชาชนได้นำคูปองไปแลกกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีแล้ว จำนวน 1,480 คน คิดเป็นร้อยละ 93.55  ส่วนการนำกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีมาใช้ พบว่า ประชาชนนำกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีมาใช้แล้ว จำนวน 804 คน คิดเป็นร้อยละ 50.82

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พีระ จิระโสภณ. (2535). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Berelson, B. & Steiner, G. A. (1964). Human behavior: An inventory of scientific findings. New York: Harcourt, Brace & World, Inc.

Festinger, L.A. (1957). A Theory of cognitive dissonance. Stanford: Stanford University Press.

Schramm, W. (1973). Channels and audiences in handbook of communication. Chicago: Rand McNelly College Publishing.