ผลการจัดการเรียนรู้นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยการประสานความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(มจธ.) โดยประสานความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน เป็นการศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย คือ การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามปลายเปิด ซึ่งเป็นแบบรายงานการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนวิชาจิตวิทยาการจัดการ และเป็นตัวแทนเข้าร่วมในโครงการศึกษาดูงาน จำนวน 39 คน วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์เชิงสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า ภาคเอกชนที่เข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ คือ บริษัทน้ำตาลมิตรผล โดยมีการดำเนินกระบวนการจัดการเรียนรู้ผ่านโครงการศึกษาดูงานในฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัท จากผลการประเมินโครงการ พบว่านักศึกษาผู้เข้าร่วมในการศึกษาดูงานครั้งนี้ มีความพึงพอใจและได้รับประโยชน์โดยรวมในระดับมากที่สุด ( = 4.41) และจากผลการสะท้อนเรียนรู้แบบย้อนมองตนและใคร่ครวญภายในของนักศึกษา ปรากฏว่า นักศึกษามีการเรียนรู้สอดคล้องตามเป้าหมายรายวิชาและกรอบคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ (KMUTT-STUDENT QF) ในด้านความเป็นผู้นำ ดังนี้ คือ ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) (87.74%) ภาวะผู้นำ (Leadership) (98.44%) ทักษะการจัดการ (Management Skills) (94.87%) และมีการเรียนรู้อื่นเกิดขึ้น อาทิเช่น เรื่องภาพลักษณ์ความรู้สึกผูกพัน วัฒนธรรมองค์การ และจริยธรรมในการทำงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
technology_education/20.html
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,สำนักงาน. 2542, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช2542, กรุงเทพมหานคร : บริษัทพริกหวาน
กราฟฟิค จำกัด.
โครงการการศึกษาดูงานเรื่องกลุ่มมิตรผล:เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยวัฒนธรรมองค์กร. 2557, เอกสารประกอบและรายงานผลโครงการ, สำนักศึกษาทั่วไปคณะศิลปศาสตร์ สายสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ มจธ.
ความหมายของ CSR. สืบค้นเมื่อ 23เมษายน 2559,จากhttp://www.csrcom.com/csr.php.
จักกาคม มหิสรากุล. 2557, ความ(ไม่)รู้ของผู้ทำนาย: การสืบค้นตัวตนจากเรื่องเล่าบนฐานของอัตชีวประวัติ.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. 2552, จิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2558,จากhttp://jittapanya.blogspot.com/search/label/จุมพล%20พูลภัทรชีวิน
จุรีพร กาญจนการุณ. 2546, การนำเสนอแนวทางการพัฒนาและการใช้ประโยชน์แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนเขตบางขุนเทียน.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต.
ครุศาสตร์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุรีพร กาญจนการุณ. 2556, การเรียนรู้คุณธรรมผู้นำสิบประการของนักศึกษามจธ. ผ่านการรับฟังการบรรยายพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 ประจำปี 2556 ธรรมราชา. กรุงเทพฯ : 221-233.
จุรีพร กาญจนการุณ.2557, เอกสารแผนการสอนวิชาGEN353จิตวิทยาการจัดการสำนักศึกษาทั่วไปคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
จุรีพร กาญจนการุณ. 2558, การสะท้อนการเรียนรู้แบบย้อนมองตน และใคร่ครวญภายในของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีภายหลังการจัดดำเนินการโครงงานสังคม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่15ฉบับที่ 1: 135-143.
ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ. 2551, งานพลังกลุ่ม และความสุข. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมและกระบวนการแนวจิตตปัญญาศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์คุณธรรม.
รายงานการประเมินผลโครงการศึกษาดูงานองค์กร Best Practice บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด. สืบค้นเมื่อ 29เมษายน 2559, จาก http://kmcenter.rid.go.th/kcperson/main/kmspb/dataspb/sumbestpractice.
เรื่องที่ผู้จัดโครงการฝึกอบรมควรรู้. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน2559, จากhttp://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/train/handbook/Training.html
วิธีการศึกษาดูงานอย่างมีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อ 8เมษายน 2559, จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/
วิธีการสอนโดยใช้การอภิปราย. สืบค้นเมื่อ 2มิถุนายน 2559, จาก https://pay2011.wordpress.com.
สำนักงานพัฒนาการศึกษาและบริการ. 2558, กรอบคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ของ มจธ.(KMUTT-STUDENT QF), กรุงเทพฯ: เอกสารเผยแพร่ สำนักงานอธิการบดี มจธ.
Ambrose, Susan A. 2010., How Learning Works: Seven Research-Based Principles for Smart Teaching, San Francisco: John Wiley & Sons, Inc.
Bertalanffy, von, L. 1968,General systems theory. New York: Braziller.
Donald, H. Ford and Richard M. Lerner. 1999, Developmental Systems Theory. London :SAGE Publications, Inc.