การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ภัทรวดี หะสิตะพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดพิษณุโลก ตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 6 ด้านได้แก่  1) ด้านงบประมาณในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) ด้านบุคลากร  3) ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย  4) ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร 5) ด้านการมีส่วนร่วม สนับสนุนจากทุกภาคส่วน 6) ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 142 คน ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 111 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 253 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (S.D.) และได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และ 2) แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นของผู้บริหารหาแนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านบุคลากร ( = 3.52) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านงบประมาณในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ( = 2.51)  2) แนวทางการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก เรียงความสำคัญจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรกดังนี้ 2.1) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตามมาตรฐานในการคัดเลือกครูผู้ดูแลเด็กให้ตรงตามคุณสมบัติที่กำหนด ตรงกับสายงาน และมีการวางแผนจำนวนครูผู้ดูแลเด็กให้เหมาะสมกับจำนวนเด็กที่ดูแล 2.2) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรกำหนดจัดทำงบประมาณและจัดสถานที่ให้ผู้ปกครองเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารได้ทั่วถึง จัดกิจกรรมผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม และสนับสนุนในกิจกรรมนั้น การขอความร่วมมือและการสนับสนุนจากชุมชนอาจขอในรูปแบบการใช้ฝีมือ หรือแรงงาน 2.3) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับตำบล อำเภอ หรือระดับจังหวัด ควรให้การสนันสนุน ส่งเสริมให้หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กครูผู้ดูแลเด็กเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คัดเลือกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการบริหารจัดการที่ดีให้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบเพื่อใช้ที่ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองทองถิ่น. (2547). พระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหาร ส่วนตําบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546. ฉะเชิงเทรา : ประสานมิตร.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.กระทรวงมหาดไทย. (2553). (ม.ป.ป.). มาตรฐานการดําเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์รปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงฯ.

กฤติมา ไทยหนุ่ม. (2553). ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วน ตำบลหนองมะค่า จังหวัดลพบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ขวัญชนก กุลชะโมรินทร์ และธีระ ภูดธนพล (2557). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

จิราภรณ์ แผลงประพันธ์. (2557). ร่วมพัฒนาเด็กปฐมวัย ก่อนจะสายเกินไป. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก: http://tdri.or.th/tdri-insight/kt22/
(วันที่ค้นข้อมูล : 20 กันยายน 2558).

ณฐวัฒน์ ราวัลย์. (2554). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการบริหารจัดการตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น วัดโพธิ์ศรีวิทยาลัย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ธราพงศ์ สุเทียนทอง, เตือนใจ เกียวซี และสมหมาย อําดอนกลอย. (2555). การศึกษาปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 3. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 2(2): 135-142.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีร์ยาสาส์น.

ผุสดี ศรีเพ็ญ และนันทิยา น้อยจันทร. (2557). การศึกษาสภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พรทิพย์พา มาบุญ. (2554). การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตําบลน้าพี้ อําเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พีรพัฒน์ มุมอ่อน. (2557). ความสําเร็จของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตําบลโนนข่า อําเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

M. Thomas. (2009). UNICEF THAILAND. การพัฒนาเด็กปฐมวัย. Available: http://www.unicef.org/thailand/tha/education_6555.html (Access date: 23 October 2015).