การศึกษาการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน มหาวิทยาลัยนเรศวร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษาปัญหาการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรระดับปริญญาตรี จำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน มหาวิทยาลัยนเรศวร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสะดวกรวดเร็วในการบริการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านความเสมอภาคในการให้บริการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กองอาคารสถานที่. (2559). ระบบขนส่งมวลชน. เข้าถึงได้จาก: http://office.nu.ac.th/building/nubus/index.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 1 ตุลาคม 2559)
ณพล ธนาวัชรากุล. (2554, มกราคม – มีนาคม). ความคิดเห็นต่อการบริการของรถไฟฟ้ามหานคร. วารสารรามคำแหง. 28 (พิเศษ) : 382 – 399.
นัฐพงษ์ เป็งใจยะ. (2552). พฤติกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในการใช้บริการรถขนส่งมวลชนสาธารณะของเทศบาลนครเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง).บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ศราวุธ สัจจาสิทธิ์. (2551). ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแคจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาการจัดการทั่วทั่วไป). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี จังหวัดสระบุรี.