3. การจัดกิจกรรมปลูกฝังสำนึกความเป็นไทยของนักเรียน โรงเรียนในจังหวัดแพร่

Main Article Content

สัมพันธ์ รอดพึ่งครุฑ
พัณนิดา อุปหนอง
ฐิติมา หิรัญรักษ์
วิโรจน์ เพียรพัฒนรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจระดับสำนึกความเป็นไทยของนักเรียนในจังหวัดแพร่ 2) เพื่อจัดกิจกรรมปลูกฝังสำนึกความเป็นไทย และ 3) เพื่อติดตามผลการปลูกฝังสำนึกความเป็นไทย กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาประกอบด้วยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนจังหวัดแพร่ที่เป็นโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา “สร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง”
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนบ้านวังเลียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาจังหวัดแพร่ เขต 2 และ 2) โรงเรียนสร้อยเสรีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 37 เครื่องมือที่ใช้
เป็นแบบวัดคุณลักษณะของสำนึกความเป็นไทย จำนวน 16 ด้าน 80 ประเด็น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ
การหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีสำนึกความเป็นไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน
ตามคุณลักษณะของสำนึกความเป็นไทย พบว่า สำนึกของความเป็นไทยในด้านสถาบันศาสนามากที่สุด รองลงไปเป็นด้านอาหารไทย ด้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้านสถาบันชาติ ด้านการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ด้านการใช้ภาษาไทย ด้านค่านิยมของสังคมไทย และด้านประเพณีไทย ตามลำดับ 2) การจัดกิจกรรมฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมสำนึกความเป็นไทยสำหรับนักเรียนจังหวัดแพร่ ช่วงที่ 1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง และสำนึกความเป็นไทย จะเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของนักเรียน ให้นักเรียนได้ร่วมคิด ร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาคำตอบและเสนอคำตอบ เน้นกระบวนการคิดของนักเรียนอย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และเน้นการใช้สื่อต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ใช้ในการแสวงหาคำตอบ และเสนอผลของการศึกษาเรียนรู้ ช่วงที่ 2 การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากฐานการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้น 4 ฐานการเรียนรู้ และหมุนเวียนศึกษา สรุปผลการเรียนรู้ตามฐานต่างๆ ด้วยความคิดของตนเอง และความคิดเห็นของกลุ่ม จดบันทึกของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเรียนรู้จากฐานต่างๆ สรุปผลการเรียนรู้จากฐานต่างๆ ทั้ง 4 ฐาน 3) ผลการสำรวจสำนึกความเป็นไทยของนักเรียนโรงเรียนจังหวัดแพร่ภายหลังการจัดกิจกรรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสำนึกความเป็นไทยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่านักเรียนมีสำนึกความเป็นไทยระดับมากที่สุดจำนวน 4 ด้านเรียงตามลำดับคือ ด้านอาหารไทยสูงสุด รองลงไปเป็นด้านอุปนิสัยใจคอของคนไทยด้านการใช้ภาษาไทย ค่านิยมของสังคมไทยส่วนด้านภูมิปัญญาไทยอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญ ศรีบุญนำ. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงใจ ประกอบทรัพย์. (2553). การวิจัยแบบผสมเพื่อศึกษาระดับสำนึกความเป็นไทยขอนักเรียนและรูปแบบกิจกรรมปลูกฝังสำนึกความเป็นไทยของโรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ (ค.ม.). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2554). จิตวิทยาจริยธรรมและจิตวิทยาภาษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร(2551). ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ประกอบ สาระวรรณ. (2555). การส่งเสริมและพัฒนาสำนึกความเป็นไทยสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก. จังหวัดพิษณุโลก.

มิลินธรา ยินดีสุข. (2547). รูปแบบกิจกรรมการปลูกฝังค่านิยมความรักชาติสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2548). การสร้างความเป็นไทยกระแสหลักและความจริงที่ความเป็นไทยสร้าง ตอนที่ 1 และ 2. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โสภา ชัยพัฒน์. (2558). การศึกษาความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้ปกครองที่มีต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558. วิทยาลันตพล อุดรธานี.

Luhmer, K.. (1990). “Moral Education in Japan.” in Journal of Moral Education 19. (October 1990) : 172-182

Neil D. (2000). The Origins of Scottish Nationhood. London : Pluto Press.

Rothi, D., Evanthia L. and Xenia C. (2006). “National Attachment and Patriotism in a European Nnation : A British Study”. in Political Psychology26 (Feb 2006) : 135-155.