การศึกษาองค์ประกอบของจิตสำนึกความเป็นครูรุ่นใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของจิตสำนึกความเป็นครูรุ่นใหม่ 2) ตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลจิตสำนึกความเป็นครูรุ่นใหม่ 3) ศึกษาระดับจิตสำนึกของความเป็นครูรุ่นใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพครูในประเทศไทยที่ทำการปฏิบัติหน้าที่ครูซึ่งมีประสบการณ์ 5-10 ปี รวมทั้งสิ้นจำนวน 600 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Sampling) เพื่อสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 ภาค โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างของจิตสำนึกความเป็นครู 2) แบบวัดจิตสำนึกความเป็นครู ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30-0.63 ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบมุขสำคัญ (Principal Component Analysis) โดยใช้การหมุนแกนแบบตั้งฉาก (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Method) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) โดยมีการประมาณค่าพารามิเตอร์ โดยใช้วิธีการประมาณค่าความเป็นไปได้สูงสุด (Maximum Likelihood: ML)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของจิตสำนึกความเป็นครูรุ่นใหม่ มีค่าพิสัยของไอเกนอยู่ระหว่าง 4.07-39.62 และมีค่าความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 49.83 มีจำนวน 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย การสะท้อนคิด (Conception of Reflection) พฤติกรรม (Behavior) และคุณธรรม (Morality) 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดจิตสำนึกความเป็นครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในดัชนีกลุ่มสัมบูรณ์ มีค่าไค-สแควร์ ( ) เท่ากับ 24.28, df= 17, p=.11, ค่า GFI=0.98, ค่า AGFI=0.95, ค่า RMSEA=0.03, ค่า SRMR=0.02 ส่วนในดัชนีกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า ค่า CFI=1.00 เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ตามสอดคล้อง พบว่า ค่าไค-สแควร์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และดัชนีอื่นๆ ยังชี้ให้เห็นว่าโมเดลตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเมื่อพิจารณาน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบของจิตสำนึกความเป็นครู พบว่า องค์ประกอบด้านพฤติกรรม มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงสุดเท่ากับ 0.96 รองลงมาคือ องค์ประกอบความคิดและความรู้สึก มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.95 และองค์ประกอบคุณธรรม มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานต่ำสุดเท่ากับ 0.94 ตามลำดับ 3) การศึกษาระดับของจิตสำนึกความเป็นครูรุ่นใหม่ผลการศึกษา พบว่า อยู่ในระดับสูง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
จุฑา บุรีภักดี. (2547). มนุษยสัมพันธ์สำหรับครู: ครูที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
เฉลิมพงศ์ มีสมนัยและคณะ. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชฎาภา ประเสริฐทรง. (2554). ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มพฤติกรรมการรู้คิดเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในการป้องกันโรคเอดส์. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฏีบัณฑิตสาขาจิตวิทยา การให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฏีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: วี. พริ้นท์.
ชัยวัฒน์ วงศ์อาษา. (2556). การเห็นคุณค่าในตนเอง. สืบค้น เมื่อ 8 เมษายน 2558, จาก http://ns2.ph.mahidol.ac.th/phklb/knowledgefiles/Selfteem.pdf
ธีรศักดิ์ อัครบวร. (2545). ความเป็นครูไทย. กรุงเทพฯ: ก. พลพิมพ์.
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2556). โมเดลสมการโครงสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วัฒนาพาณิช.
นฤมล บุลนิ่ม. (2545). จากภูมิปัญญาครูไทยสู่การพัฒนาครู. วารสารวิทยาจารย์. 100(12).
นิตยา กัณณิกาภรณ์. (2553). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองตามจรรยาบรรณวิชาชีพข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญา นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิขาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิเชต สุนทรพิทักษ์. (2550). เส้นทาง...ครู. พิมพ์ครั้งที่ 1. พระนครศรีอยุธยา: เทียนวัฒนาพริ้นติ้ง.
ปราชญา กล้าผจัญ. (2550). คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พจนานุกรม. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2556, จาก http://www.royin.go.th/dictionary/
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2541). ข้าราชการไทย “ความสำนึกและอุดมการณ์”. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัศมี สีหะนันท์. (2551). การประเมินสมรรถนะความเป็นครูของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. การศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต การศึกษาเพื่อพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.
วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2557). ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2549). ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ปี 2549-2551. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวง.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับ พฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สันติ บุญภิรมย์ (2557). ความเป็นครู. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
สาธิตา สำราญรมย์. (2553). การพัฒนาแบบวัดจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สายฤดี วรกิจโภคาทร และคณะ. (2554). การพัฒนาหลักสูตร สำหรับโรงเรียนปฐมวัยในการสร้างทักษะนิสัยแห่ง ปัญญาของเด็กไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุขวสา ยอดกมล. (2552). รู้ครูรู้นักเรียน. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สร้างทักษะนิสัยแห่ง ปัญญาของเด็กไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
Davis, Brent. (2005). Teacher as ‘Consciousness of the Collective’ Complexity and Education. Retrieved December 30, 2015, from http://ejournals.library.ualberta.ca/index.php/complicity/article/view/8732/705
Robert, F Hessong et al. (1999). Sample Size in Factor Analysis. Psychological Methods. Retrieved December 30, 2015,from http://psychology.ucdavis.edu/labs/Widaman /mypdfs/wid096.pdf
Mitra, A. (1998). Fundamentals of Quality Control and Improvement. New Jersey : Prentice Hall, Inc.Place-Consciousness
Saheb Ali, H.N. (2014). Quality Consciousness And Culture In Teacher Education. Review of Literature Impact Factor. Retrieved December 30, 2015, from http://reviewsofliterature.org/UploadArticle/128.pdf