13. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Main Article Content

รุจิรา พลแพงขวา
สจี กุลธวัชวงค์
พรรทิภา ชินภา
เกียรติพร จันโทภาส
ปรีชา รุทรโสธร
นิตยา สุนทรสิริพงศ์
ธิติ เตชะไพโรจน์
นันทาภา เขาวงศ์ทอง
พลอยไพลิน ต่อสหะกุลเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร 2) แนวทางอนุรักษ์การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ให้คงอยู่สืบไป


            งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้คำถามแบบกึ่งโครงสร้าง การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ การศึกษาจากเอกสารวิชาการต่าง ๆ และการสนทนากลุ่มย่อยจากประชากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 80 คน ได้แก่ กลุ่มผู้รู้  กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการสร้างข้อสรุปโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) เมื่อนำกระบวนการจัดการความรู้ทั้ง 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การแสวงหาความรู้ (2) การสร้างความรู้ (3) การจัดเก็บและค้นคืนความรู้ (4) การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (5) การเข้าถึงความรู้ (6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และ (7) การเรียนรู้  มาใช้ได้ก่อให้เกิดผลคือ สามารถรวบรวมองค์ความรู้ด้านการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติเพื่อเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจ สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น  ตลอดจนสมาชิกมีความรู้ ความชำนาญและเกิดทักษะในการพัฒนาทอผ้าย้อมสีธรรมชาติมากขึ้น 2) แนวทางในการอนุรักษ์การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ให้คงอยู่สืบไปนั้น ควรเน้นการส่งเสริมกิจกรรมการเผยแพร่ผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา กระตุ้นให้เกิดการประกวด หรือจัดนิทรรศการ โดยหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ และด้านการตลาด เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาเห็นความสำคัญของการสวมใส่ผ้าย้อมสีธรรมชาติให้มากขึ้น ตลอดจนปลูกฝังให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงการเข้ามามีส่วนร่วม
ในการสืบสาน อนุรักษ์การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ และมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตกรรมเครื่องจักสาน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กลุ่มงานวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. (2555). จิตวิญญาณแห่งผืนผ้า คุณค่าแห่งภูมิปัญญา ผ้าย้อมคราม สกลนคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร.

คำพูล สุราชวงศ์. (2555). โอท็อป สู่สากล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.google.co.th. สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2558.

ประดิษฐ์ สมจันทร์ และคณะ. (2555). แนวทางการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร. วิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน.

ประไพศรี รูปดี. (2557). แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตกรรมการทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มสตรีบ้านม่วง หมู่ 2 ตำบลพรสวรรค์ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

ศิริภรณ์ กุลจิตติวิรัช. (2556). ศึกษาการจัดการความรู้การทอผ้าย้อมครามบ้านโดนสะอาด ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานไทยตำบลดอทคอม. (2558). กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.thaitambon.com/tambon. สืบค้นวันที่ 21 ธันวาคม 2558.

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ. (2558). ผ้าย้อมคราม สกลนคร“ผ้าคราม” ได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งผ้าย้อมสีธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติสีน้ำเงินสดใส ซึ่งการย้อมมีความละเอียดอ่อน เป็นเทคนิคซับซ้อนสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.biogang.net/product_view. สืบค้นวันที่ 21 ธันวาคม 2558.

สุวนิดา ศรีทารัง. (2556). แนวการศึกษาการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปะการแกะสลักเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภิชาต ใจอารีย์. (2557). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นการแปรรูปหน่อไม้ของชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุสา สุทธิสาคร. (2554). การเรียนรู้และการจัดการความรู้ด้านวิสาหกิจชุมชนของชุมชนบ้านร่องก่อ ตำบล โพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.