14. การศึกษาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อมรภัทร์ อูปแก้ว
อดุลย์ ทองแกม
สรรเพชญ เหล่าไพบูลย์
ปรีชา รุทรโสธร
นิตยา สุนทรสิริพงศ์
วนิดา ศรทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและขั้นตอนในการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์
ใช้งานด้านพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งจังหวัดอุดรธานีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงประยุกต์ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ที่ปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ย ปี พ.ศ. 2558มากที่สุด คือ พื้นที่อำเภอทุ่งฝน และอำเภอวังสามหมอ เฉลี่ย 130 – 145 มม.ต่อปี ส่วนปริมาณน้ำฝนที่ตกน้อยที่สุด คือ พื้นที่อำเภอศรีธาตุ เฉลี่ยน้อยกว่า 60 มม.ต่อปีเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ข้อเสนอแนะ เกษตรกรควรวางแผนการใช้ที่ดินด้านการเกษตรอันจะเป็นประโยชน์ เพื่อไม่ให้เกิดการเสียหายด้านต่างๆ อีกทั้งยังช่วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการวางแผน การป้องกันการเกิดภัยแล้งได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง และจะเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เฝ้าระวังและติดตามพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อลดและบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยแล้งได้อย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรน้ำ. (2557). การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้งในฤดูกาลหน้า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. หน้า 1 - 26.

ไทยรัฐ. แก้วิกฤติภัยแล้งซ้ำซาก. [สืบค้น] วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558 [ออนไลน์] http://www.thairath.co.th/content/460972

ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2557). แผนที่แสดงพื้นที่ประสบภัยแล้ง. [สืบค้น] วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558 [ออนไลน์] http://infoservice.oae.go.th/index.php/23-gis-cat/131-mapdrought-57-art.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 อุดรธานี. (2555). เตือนเกษตรกรรับมือ หลังภัยแล้งส่งผล 12 อำเภอในอุดรธานี ทำพื้นที่เกษตรเสียหาย 1.7 แสนไร่.

สำนักบริหารและพัฒนาการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน. (2557). ความแห้งแล้งซ้ำซากของประเทศไทย.

สำนักบริหารและพัฒนาการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน. (2557). ภัยแล้ง.