เรื่องเล่าจากวังเวียง : ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ท่องเที่ยว

Main Article Content

บงกช เจนชัยภูมิ
กีรติพร จูตะวิริยะ
จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอทุนทางสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ท่องเที่ยวเมืองวังเวียง ซึ่งเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว
ที่สำคัญแห่งหนึ่งใน สปป.ลาว อธิบายผ่านเรื่องเล่าของคนในชุมชนเพื่อทำความเข้าใจถึงวิถีชีวิตที่ต้องเผชิญกับความทันสมัยในระบบทุนนิยม เรื่องเล่าผ่านชีวิตคนในพื้นที่ทำให้พบว่า ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมในเมืองวังเวียงมีความเข้มแข็งอยู่มาก ทุนทางสังคมที่เข้มแข็งเกิดจากระบบความสัมพันธ์ของคนในชุมชนที่เรียนรู้จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรักหวงแหนในพื้นที่ของตน โดยมีระบบการรวมกลุ่มเพื่อจัดระเบียบการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ด้านทุนทางวัฒนธรรมมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมืองวังเวียงเป็นเมืองท่องเที่ยวและพักผ่อนตากอากาศ ดังนั้นจึงมีนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างวัฒนธรรมเข้ามาในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้ใช้พื้นที่ของวัดธาตุซึ่งเป็นวัดกลางบ้านเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน การสร้างความคุ้นเคยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในพื้นที่ทางวัฒนธรรมและความศรัทธาต่อพื้นที่วัดธาตุ จึงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ด้วยการรับรู้หรือการสั่งเท่านั้น แต่เป็นศิลปะแห่งการคิดและการดำรงชีวิตของชาวบ้านในเมืองวังเวียง สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดพลังทางวัฒนธรรมที่ทำให้ชุมชนดำรงอยู่ได้อย่างเข้มแข็งท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในกระแสทุนนิยม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กีรติพร จูตะวิริยะ และคณะ. (2554). “วิถีการบริโภค อาหารกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุค โลกาภิวัตน์ เขตนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว” วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 7(2). (พฤษภาคม – สิงหาคม), 49-73.

เก็ตถวา บุญปราการ. (2551). ปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน ของผู้ค้ามุสลิมข้ามแดนปาดังเบซาร์ไทย-มาเลเซีย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กำไล จินดาพล. (2548). ชุมชนเกาะปันหยีภายใต้กระแส การท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2547). “ทุนสังคมและทุนวัฒนธรรมในระบบเศรษฐกิจและการจัดการยุคใหม่”: รวมบทความจากการประชุมวิชาการ ประจำปี 2547 มหาวิทยาลัยนเรศวร. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ. ลีฟวิ่ง.

ปิแยร์ บูร์ดิเยอ. (2550). เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์. แปลโดย ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

ยศ สันตสมบัติ และคณะ. (2544). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการจัดการทรัพยากร. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัชนี เอื้อไพโรจน์กิจ. (2547). ลักษณะและความสำคัญของการท่องเที่ยวใน สปป.ลาว. งานวิจัยหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัฒนา สุกัณศีล. (2548). โลกาภิวัตน์ (Globalization). คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ศรีไพร พริ้งเพราะ. (2547). การพัฒนาการท่องเที่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของชุมชน: บูรณาการการจัดการแสดงของช้างในบ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุธาริน คูณผล. (2550). รัฐศาสตร์สาร, ปีที่ 28 ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนีย์ ประสงค์บัณฑิต. (2553). แนวความคิดฮาบิทัสของปิแอร์ บูร์ดิเยอ กับทฤษฎีทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

องค์การท่องเที่ยวแห่งชาติลาว. (2545). การท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ใน สปป.ลาว. เวียงจันทน์: องค์การท่องเที่ยวแห่งชาติลาว.

อมรา จำรูญศิริ. (2546). การท่องเที่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม: กรณีศึกษาตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา สถาบันราชภัฎเลย.

บูร์ดิเยอ, Pierre. (1977). Outline of a Theory of Practice, translated by Richard Nice. Cambridge: Cambridge University Press.

Brecher, Costello, and Smith. (2000). Globalization from Below: The Power of Solidarity. South End Press, 7 Brookline Street, #1, Cambridge.

de Certeau, Michel. (1984). The Practice of everyday Life. Berkeley: University of California Press.

Falk, Richard. (1992). The Making of Global Citizenship in Brecher, Jeremy et al (eds.), Global Visions: Beyond the New World Order. Boston: South End Press.

Giddens, A. (1990). The Consequences of Modernity. Cambridge: Polity Press.

._________. (1998). The Third Way: The Renewal of Social Democracy. Cambridge: Polity.

._________. (1999). Runaway World: How Globalisation Is Reshaping Our Lives. London: Profile.

Lao National Tourism Administration. (2010). Lao PDR Tourism Strategy 2006-2010 in Lao. Retrieved December 29, 2010, from Free Downloads: Documentation. Web site: http://www.tourismlaos.org/web/ show_content.php?contID=21

Rogers Paul. (2009). Tourism in Vang Vieng: Strategy for Staying Longer – Spending More. GMS Sustainable Tourism Development Project. Retrieved February 3, 2011. Website: www.stdplaos.com

.__________. (2009). Vang Vieng - Stunning Adventure. Thematic Interpretation Plan. GMS Sustainable Tourism Development Project. Retrieved February 3, 2011. Website: www.stdplaos.com

.__________. (2009). Vang Vieng Town and Environs Master Plan 2010-2020, Final Report. GMS Sustainable Tourism Development Project. Retrieved February 3, 2011. Website: www.stdplaos.com