2. ความพึงพอใจในการรับชมดิจิตอลทีวีต่อการเปลี่ยนผ่านการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล๊อก อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

สุธัญญา กฤตาคม
เชษฐพัฒน์ สิริวัฒนตระการ
ประวิทย์ พิมพิศาล
จริยา ดีชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการรับชมดิจิตอลทีวีในพื้นที่เริ่มต้นของการยุติการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบแอนะล๊อก อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด โดยใช้ประชากรที่บ้านมีเครื่องรับโทรทัศน์ใน อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 57,240 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,862 คน เพศชายจำนวน 1,415 คน เพศหญิง จำนวน 1,447 คน คิดเป็น 5% ของจำนวนประชากรในพื้นที่ ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด มีความพึงใจในการรับชมดิจิตอลทีวี ดังนี้ พึงพอใจมาก จำนวน 1,713 คน คิดเป็นร้อยละ 59.85 รองลงมา คือ พึงพอใจ จำนวน 838 คน คิดเป็นร้อยละ 29.28 และพึงพอใจน้อย จำนวน 220 คน คิดเป็นร้อยละ 7.69 ตามลำดับ 2) ประชาชนอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด  มีความพึงใจในการได้รับบริการติดตั้งกล่องและปรับช่องสัญญาณ ดังนี้ พึงพอใจมาก จำนวน 1,386 คน คิดเป็นร้อยละ 48.43 รองลงมา คือ พึงพอใจ จำนวน 707 คน คิดเป็นร้อยละ 24.70 และไม่พึงพอใจมาก จำนวน 393 คน คิดเป็นร้อยละ 13.73 ตามลำดับ 3) ประชาชนอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด มีความพึงพอใจที่ภาพมีความคมชัด มีคุณภาพเสียงดีกว่าระบบเดิม ดังนี้ พึงพอใจ จำนวน 1,426 คน คิดเป็นร้อยละ 49.83 รองลงมา คือ พึงพอใจมาก จำนวน 705 คน คิดเป็นร้อยละ 24.63 และไม่พึงพอใจมาก จำนวน 416 คน คิดเป็นร้อยละ 14.54 ตามลำดับ 4) ประชาชนอำเภอโพธิ์ชัยจังหวัดร้อยเอ็ด  มีความพึงพอใจในการรับสัญญาณได้ทุกพื้นที่ ดังนี้ พึงพอใจมาก จำนวน 1,286 คน คิดเป็นร้อยละ 44.93 รองลงมา คือ พึงพอใจ จำนวน 1,107 คน คิดเป็นร้อยละ 38.68 และพึงพอใจน้อย จำนวน 340 คน คิดเป็นร้อยละ 11.88 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดิเรก ฤกษ์หร่าย. (2527). การพัฒนา : เน้นการพัฒนาสังคมและแนวความคิดความจำเป็นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร. หน้า 18

สมวงศ์พงศ์สถาพร. (2547). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร : เลฟแอนด์ลีฟ, ๒๕๔๗. หน้า 59.

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2548). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพมหานคร :บริษัท เพรส แอนด์ดีไซน์จำกัด.

Hinshaw, A.S. and Atwood J.R.. 1982. A patient satisfaction instrument : Precisiontry Replication. Nursing Research. pp.170-171.

Vroom,W.H.. 1964. Working and Motivation. New York : John Wiley