การรับรู้เกี่ยวกับดิจิตอลทีวีก่อนการยุติการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกของประชาชนในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด

Main Article Content

อรัญ อรัญมาตย์
ธาราทิพย์ บุตรภูมิ
กอบแก้ว ทวีพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับดิจิตอลทีวีก่อนการยุติการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก ซึ่งการดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ และกำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ จำนวน 7,737 คน โดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.84 สุ่มถามกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในวิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ค่าร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนร้อยละ 78.98 ไม่รู้ว่าจะมีการยุติการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก  (เฉพาะช่องไทยพีบีเอส) ในวันที่ 31 มกราคม 2559 ประชาชนร้อยละ 52.27 รู้ว่ากล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีสามารถติดตั้งกับทีวีแบบเก่าได้ ประชาชนร้อยละ 58.85 รู้ว่าสามารถรับชมดิจิตอลทีวีผ่านกล่องหรือเสารับสัญญาณดิจิตอลทีวีได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน ประชาชนร้อยละ 55.99 รู้ว่าดิจิตอลทีวีมีภาพคมชัด เสียงดี สัญญาณไม่ล่ม ประชาชนร้อยละ 52.18 รู้ว่าดิจิตอลทีวีมีช่องสัญญาณมากขึ้น มีรายการทีวีใหม่ๆ ให้รับชมได้มากขึ้น และประชาชนร้อยละ 60.06 ไม่รู้ว่าสามารถดูรายการดิจิตอลทีวีผ่านโทรศัพท์มือถือได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันยา สุวรรณแสง. (2544). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : อักษรพิทยา. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (2557).

สำนักงาน กสทช. ไทยพีบีเอส ช่อง 5 ช่อง 11 และช่อง 9 ผนึกกำลังเดินหน้าสู่ยุคดิจิตอลทีวี เตรียมยุติการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกภายในปี 2561. (เอกสารประชาสัมพันธ์). กรุงเทพฯ : ม.ป.พ. (อัดสำเนา)

จักรีรัตน์ แสงวารี. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การรับรู้ และความสนใจเกี่ยวกับโทรทัศน์ดิจิตอลกับความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 5(2), 34-41.

จิราภา เต็งไตรรัตน์และคณะ. (2554). จิตวิทยาทั่ว ไป(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เชษฐพัฒน์ สิริวัฒนตระการ, (2559). การวิจัยการสร้างความเข้าใจและศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกต่อผู้บริโภค จังหวัดร้อยเอ็ด. สาขาวิชาประชาสัมพันธ์ การศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

บรรยงค์ โตจินดา. (2548). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ ครั้งที่3). กรุงเทพฯ : รวมสาส์น.แผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559) , (2555, 3 เมษายน).ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 129 ตอนพิเศษ 63ง.,หน้า 271-284.

ลักขณา สริวัฒน์. (2549). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วิภาพร มาพบสุข. (2540). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

พีระ จิระโสภณ. (2535). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดร้อยเอ็ด. (2557). การเมืองการปกครองและประชากร. ค้นข้อมูล 30 ตุลาคม 2558,จาก http://www.roiet.go.th/poc/index.php/2014-07-04-10-16-49

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ(พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper and Row Publishers.