ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุน และผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร รวมทั้งเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการลงทุน ประชากร คือ ประธาน คณะกรรมการ และสมาชิกกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา จำนวน 70 คน โดยทำการศึกษาและเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลค่าใช้จ่ายในการลงทุน ต้นทุนในการผลิต และรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมคราม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ วิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยวิธีระยะเวลาคืนทุน วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ และวิธีอัตราผลตอบแทนภายใน
ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนในการลงทุนผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายในการลงทุนเมื่อเริ่มแรก 324,880 บาท ต้นทุนในการผลิต 1,109,602.40 บาท ซึ่งประกอบไปด้วยค่าวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต สำหรับต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของผ้าลายมัดหมี่ 4 ตะกอ เท่ากับ 282.94 บาทต่อเมตร ผ้าลายมัดหมี่ 2 ตะกอ เท่ากับ 282.94 บาทต่อเมตร ผ้าลายเกร็ดเต่า เท่ากับ 228.51 บาทต่อเมตร ผ้าลายเกร็ดแลน เท่ากับ 228.51 บาทต่อเมตร ผ้าลายพื้น 4 ตะกอ เท่ากับ 195.85 บาทต่อเมตร ผ้าลายพื้น 2 ตะกอ เท่ากับ 174.08 บาทต่อเมตร ผ้าลายสก๊อต 2 ตะกอ เท่ากับ 195.85 บาทต่อเมตร กำหนดอายุโครงการเท่ากับ 10 ปี ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 4,622,455.16 บาท ที่อัตราคิดลดร้อยละ 7.62 ซึ่งมากว่าศูนย์ มีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับร้อยละ 149.68 ซึ่งมากกว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมธนาคารพาณิชย์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 7.62 และมีระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 7 เดือน 15 วัน ซึ่งให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน ทั้งนี้กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา ควรจะมีการส่งเสริมและให้ความรู้เทคนิคต่างๆ ในการทอผ้าแก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทำการผลิตได้อย่างมีคุณภาพรวมทั้งควรส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป และส่งเสริมการประชาสัมพันธ์สินค้าของกลุ่มผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั้งใน และต่างประเทศ อันจะส่งผลให้รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กิ่งกนก พิทยานุกูล.(2553). การบัญชีต้นทุน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กัญญา จึงวิมุติพันธ์. (2551). การประยุกต์มิติทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายย้อมคราม บ้านคันพะลาน ตำบลนาตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ชนากานต์ ชัยรัตน์บุรี. (2553). ต้นทุนและผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ผ้าหมักโคลนย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าบ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชัญญา บุญบุรี. (2550). ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดวงจิตร์ กั้วศรี. (2551). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตผ้าไหมแพรวาลายเกาะบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดวงมณี โกมารทัต. การบัญชีต้นทุน. (2551). พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2552). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว.
พรพิธ พัฒนกุล. (2550). ต้นทุนและผลตอบแทนการทอผ้าของกลุ่มสตรี กรณีศึกษาบ้านก้างปลา ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
แววดาว อุตตา. (2551). ต้นทุนและผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ผ้าทอลายน้ำไหลของวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้าบ้านทุ่งสุน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยพรัตน์ อิ่มพิทักษ์. (2553). ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของกลุ่มหัตถกรรมบ้านโบราณหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สลักฤทัย สัมฤทธิ์. (2554). การบริหารต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ผ้าไทลื้อ. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2551). การบัญชีต้นทุน1.กรุงเทพฯ: McGraw-Hill Companies.