การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียการถ่ายทอดคติความเชื่อและภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ ของชาวไทยพวนบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ไวพจน์ ดวงจันทร์
จุฑามาส ทรายแก้ว
ฐาปนพงศ์ สารรัตน์
กิตติพล เทียนทอง
วัชรินทร์ ภิญโญศาตร์
สุดารัตน์ สอนบัว
สุธินี พันธุจิตร
ทิพย์ธัญญา แสงใส
อ้อยทิพย์ ณรงค์ชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคติความเชื่อของลวดลายบนผืนผ้ามัดหมี่ชาวไทยพวนบ้านผือ ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของลวดลายผ้ามัดหมี่ชาวไทยพวนบ้านผือ ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ชาวไทยพวนบ้านผือ ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 4) เพื่อสร้างสื่อมัลติมีเดียถ่ายทอดคติความเชื่อบนผืนผ้ามัดหมี่ชาวไทยพวนบ้านผือ ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในลักษณะที่มีการพัฒนา (Development) สื่อมัลติมีเดียในการถ่ายทอด โดยแบ่งออกเป็นระยะที่ 1 สำรวจความต้องการในเขตพื้นที่กลุ่มประชากร คือ ชุมชนไทยพวนบ้านผือ ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ระยะที่ 2 ศึกษาคติความเชื่อของลวดลายบนผืนผ้ามัดหมี่ชาวไทยพวนบ้านผือ และภูมิปัญญาท้องถิ่นการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ชาวไทยพวนบ้านผือ ระยะที่ 3 สร้างสื่อมัลติมีเดียถ่ายทอดคติความเชื่อบนผืนผ้ามัดหมี่ชาวไทยพวนบ้านผือ ระยะที่ 4 การประเมินสื่อความพึงพอใจในสื่อมัลติมีเดีย โดยกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 48 คน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มทอผ้ามัดหมี่และกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้ามัดหมี่ไทยพวนบ้านผือ และผู้บริหารพิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านผือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคติความเชื่อบนผืนผ้ามัดหมี่จากกลุ่มตัวอย่าง และแบบสอบถามความพึงพอใจสื่อมัลติมีเดียในถ่ายทอดคติความเชื่อบนผืนผ้ามัดหมี่ชาวไทยพวนบ้านผือ


            ผลการวิจัยพบว่า คติความเชื่อในลายผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นผ้าที่มีการทอมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษและได้รับการถ่ายทอดมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่สามารถทอผ้าได้ ถ้าในสมัยก่อนผู้หญิง ทุกคนต้องทอผ้าเป็นจึงจะมีสามีได้ ดังนั้น จึงแสดงให้เห็นว่าการทอผ้าถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้หญิงทุกคน  ภูมิปัญญาการทอผ้ามัดหมี่มีกระบวนการและขั้นตอนที่หลากหลาย ซึ่งในหนึ่งขั้นตอนนั้น คือการมัดหมี่ โอบหมี่ เพื่อให้เกิดลวดลายที่สวยงามและแฝงด้วยความเชื่อหรือตำนานต่างๆ ลงในลายผ้าด้วย ซึ่งในลายผ้าที่ปรากฏของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนสามารถแยกออกได้ 5 ประเภท ได้แก่ ลวดลายผ้ากลุ่มสัตว์ ลวดลายผ้ากลุ่มพืช ลวดลายผ้ากลุ่มปลูกสร้าง ลวดลายผ้ากลุ่มสิ่งของเครื่องใช้ และลวดลายกลุ่มอื่นๆ ลายผ้ายังสะท้อนให้เห็นถึงตำนานที่คนในชุมชนยังเชื่อและนับถือกันอยู่ คนในชุมชนไทยพวนบ้านผือ ส่วนมากจะนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งในลายผ้าก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่านับถือศาสนาพุทธและนับถืออย่างเคร่งคัดอย่างเช่น ในตำนานอุษาบารส ที่ถูกวาดลงผ้าเพื่อต้องการจะเล่าตามตำนานที่บรรพบุรุษเชื่อถือมาแต่อดีต ในตำนานจะกล่าวถึงการสร้างวัดของพ่อตา กับลูกเขยที่สร้างวัดแข่งกัน ซึ่งแน่นอนว่าการสร้างวัดแสดงให้เห็นถึงการรักษาทำนุบำรุงศาสนาให้อยู่ต่อไป ผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนบ้านผือ มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างมากเพราะคนในสังคมไทยพวนยังมีการสวมใส่ผ้าทอในชีวิตประจำวันอยู่ โดยจะสวมใส่ในโอกาสต่างๆเช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือในงานพิธีกรรมต่าง ๆ ของชุมชน ในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียการถ่ายทอดคติความเชื่อและภูมิปัญญาการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวนมีลวดลายที่หลากหลาย ประกอบด้วยลวดลายความเชื่อที่ปรากฏในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท หอนางอุษา พิธีกรรมเกี่ยวกับพญานาค ต้นผือ ต้นข้าว และลวดลายดั้งเดิมที่มีการสืบทอดกันมา  ผลจากการประเมินความพึงพอใจรูปแบบสื่อมัลติมีเดียโดยกำหนดค่าเป้าหมาย 4.0 จาก 5.0 ซึ่งค่าระดับคะแนนเท่ากับ 4.32 อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิริณี สินุธก. (2543). วิถีชีวิตและภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวสวนลองกอง. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2536). วัฒนธรรมกับความหลากหลายทางชีวภาพ. กรุงเทพฯ : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

ชลทิตย์ เอี่ยมสำอางค์ และ วิศนี สิลตระกูล. (2533).

ภูมิปัญญาชาวบ้าน เทคโนโลยีพื้นบ้านและแหล่งวิทยาการในชุมชน ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนา และ การใช้แหล่งวิทยาการในชุมชน หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2538). “ภูมิปัญญาไทยในวิถีชีวิตไทย” ในรายการสัมมนาเรื่องภูมิปัญญาไทยในภาษาและวรรณคดี. กรุงเทพมหานาคร : สำนักงานส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติและมหาวิทยาลัยสยาม.

ธัญญธร อินศร. (2546). การศึกษาปัญหาการเลียนแบบลายผ้าทอพื้นเมืองอีสานและโมเดลทางกฎหมายเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ธำรงชาติ วงศ์อารีย์และคณะ. (2555). การศึกษาแนวคิดและกระบวนของการออกแบบลวดลายผ้าพื้นเมือง จากภูมิปัญญาพื้นบ้านชาวไทพวน ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วิทยาลัยสันตพล.

บรรจง จงสมชัย. (2551). ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านความเชื่อในการผลิตผ้าผู้ไทยเชิงพาณิชย์.สาขาวัฒนธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประนอม เคียนทอง. (2551) พลวัตและการปรับตัวของการสร้างเครือข่ายธุรกิจผ้าทอมือมัดหมี่ชุมชนไทยพวน จังหวัดลพบุรี. สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.มหาสารคาม.

โพธิ์ แซมลำเจีก. (2537). ตำนานไทยพวน. ก.พลพิมพ์ พริ้นติ้ง. กรุงเทพมหานคร.

มยุรี ปาละอินทร์. (2543). คองสิบสี่ในวิถีชีวิตของชาวไทยพวน ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. สาขาวิชาไทยคดีศึกษากลุ่มมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

วรรณา เรืองปราชญ์. การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าพื้นเมืองชาวลาวเวียงด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ.

ฤดีมน ปรีดีสนิท. (2539). วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมประเพณีและประวัติศาสตร์ชุมชนกรณีไทย-พวน อำเภอบ้านผือ. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี.