7. การพัฒนาแบบวัดเจตคติต่อการสอนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

Main Article Content

สมภัสสร บัวรอด
กรองทอง พิพิธทพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดเจตคติต่อการสอนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยที่ปรับปรุงจาก Hyung-Sook-Cho และคณะ (2003) เป็นภาษาไทยด้วยวิธีการแปลกลับแบบไม่ทราบต้นฉบับ (blind back translation method) 2) วิเคราะห์โครงสร้างของแบบวัดเจตคติต่อการสอนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ประชากร คือนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน  694 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่ได้จากการเลือกอย่างเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 321 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า


  1. แบบวัดเจตคติต่อการสอนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .877

2. การวิเคราะห์องค์ประกอบของแบบวัดเจตคติต่อการสอนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย มีโครงสร้างองค์ประกอบ 3 มีรายการข้อคำถามในแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้  มิติที่ 1 Self-Motivation (แรงจูงใจในตน) มีจำนวน 9 ข้อ ได้แก่ ข้อ 2, 8, 11, 12, 13, 15, 17, 19, 21 มิติที่ 2 Self-Development (การพัฒนาตน)  มีจำนวน 7 ข้อ ได้แก่ ข้อ 4, 6, 7, 10, 14, 20, 22  มิติที่ 3 Self-Efficacy (ความสามารถในตน) มีจำนวน 6 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1, 3, 5, 9, 16, 18

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2542). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). กรอบแนวคิดและแนวทางการประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ:สำนักทดสอบทางการศึกษา.

ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และคณะ. (2554). การพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ป่วยเรื้อรัง. การพยาบาลและการศึกษา. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2554. 62-75.

นพคุณ แดงบุญ. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรรมวิทยาศาสตร์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นารีนารถ นาคหลวง. (2548). การพัฒนาแบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ด้านความสนใจใฝ่รู้ ความมีเหตุผล และความใจกว้างของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มโรงเรียนเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏุอุตรดิตถ์.

ปิยะรัตน์ ตำตาด. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นต่อสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่ตอบสนองต่อผู้เรียนรายบุคคลกับเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏุมหาสารคาม.

พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. ภาควิชาการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วารีรัตน์ ถาน้อย และคณะ. (2554). แบบวัดความครุ่นคิดต่อสถานการณ์ฉบับภาษาไทยสำหรับวัยรุ่น: คุณภาพของเครื่องมือ. วารสารพยาบาลศาสตร์. ฉบับที่ 29 มกราคม – กันยายน 2554. 29-38

ณภาพของเครื่องมือ. วารสารพยาบาลศาสตร์. ฉบับที่ 29 มกราคม – กันยายน 2554. 29-38

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cho, H. S., Kim, J., & Choi, D. H. (2003). Early Childhood Teachers’ Attitudes Toward Science Teaching: A Scale Validation Study. Educational Research Quarterly, 27(2), 33-42.

Merve Peple Unal et al. (2010). The adaptation of a scale for preschool teachers’ attitudes towards science teaching.

Procedia Social and Behavioral Sciences, 2(2010), 2881-2884.

Thompson, C. & Shrigley, R.L. (1986). What research says: Revising the science attitudes scale. School Science and Mathematics, 86, 331-343.